Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

เตรียมชมรายการ “เที่ยวตามแพน” ชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ปี 2567

 

 

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวก ถ่ายทำรายการ “เที่ยวตามแพน” ดำเนินรายการโดยคุณแพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์

           บริษัท สตาร์บางกอก จำกัด ได้ลงพื้นที่ชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปี 2565 ระดับจังหวัด จำนวน 3 ชุมชน คือ 1) ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเมืองรวง 2) ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านสันทางหลวง และ 3) ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) ระหว่างวันที่ 11 – 13 มกราคม 2567 เพื่อถ่ายทำรายการ “เที่ยวตามแพน” ดำเนินรายการโดยคุณแพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์ เพื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน

           นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางสาวณพิชญา นันตาดี นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นางกัลยา แก้วประสงค์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นางสาวสุพรรณี  เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และนายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ผู้ประสานงานวัฒนธรรมอำเภอเมือง เข้าร่วมให้การต้อนรับ และอำนวยความสะดวก

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ศิลปะบนจานข้าวมูลค่าเป็นล้าน ครั้งแรกของประเทศไทย “จานศิลปะ”

 

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ คล้ายสุวรรณ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤมล เรืองรังษี นายกสมาคมศิลปินลุ่มน้ำโขง อาจารย์สุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะเชียงราย และศิลปิน สมาคมศิลปินลุ่มน้ำโขง สมาคมขัวศิลปะเชียงราย ร่วมกันเปิดนิทรรศการ “จานศิลปะ” (Art Plate Exhibition) ณ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ซึ่งเป็นนิทรรศการ “จานศิลปะ” (Art Plate Exhibition) ทางสมาคมศิลปินลุ่มน้ำโขง ร่วมกับสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย จัดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และ สร้างสรรผลงานสู่เทศกาลไทยแลนด์เบียนนาเล่เชียงราย 2023 (Thailand Biennale, Chiang Rai 2023) อีกด้วย

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤมล เรืองรังษี นายกสมาคมศิลปินลุ่มน้ำโขง กล่าวว่า นิทรรศการจานศิลปะ Art Plate Exhibition เป็นภารกิจขององค์กรและสถาบันในท้องถิ่น ในการส่งเสริมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งเป็นการสนับสนุนภาพลักษณ์ของจังหวัดเชียงราย เมืองแห่งศิลปะ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่มีการจัดนิทรรศการ “จานศิลปะ” ร่วมสมัยขึ้นโดยมีแนวคิดในการนำจานอันเป็นภาชนะเพื่อการบริโภคอาหารในวิถีวัฒนธรรมของมนุษย์มาอย่างยาวนาน เป็นจานเครื่องปั้นดินเผาท้องถิ่นของจังหวัดลำปาง ดินแดนแห่งเซรามิก อันเลื่องชื่อของล้านนามาบูรณาการกับงานศิลปะ 
 
 
โดยที่ศิลปินได้สร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยบนแผ่นจานที่เป็นภาชนะดินเผาธรรมดา ให้มีสีสันลวดลายอันวิจิตร เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับจานในเชิงสุนทรีย์ และเชิงเศรษฐกิจ อีกทั้งเป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้โดดเด่นน่าสนใจ การดำเนินงานในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากศิลปินที่มีชื่อเสียงทั้งจากประเทศไทยและประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวม 36 ท่าน ร่วมสร้างสรรค์จานศิลปะ จำนวนกว่า 71 ชิ้น ทั้งนี้เพื่อเปิดโลกทัศน์ในการใช้งานหัตถกรรมของท้องถิ่นมาประกอบเป็นงานศิลปะร่วมสมัย และส่งมอบสุนทรียภาพแห่งงานศิลปะสู่ผู้คนในสังคม”
 
 
นิทรรศการ “จานศิลปะ” เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 12 มกราคม – 29 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 9.00 -16.00 น. ณ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สมาคมศิลปินลุ่มน้ำโขง
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

คนนับหมื่นร่วมมุทิตาสักการะครูบาอริยชาติ ในพิธีทำบุญอายุวัฒนมงคล 43 ปี

 

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 ที่วัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงราย และประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยประชาชนจากทั่วทุกสารทิศจำนวนมากต่างเดินทางไปกราบนมัสการพระภาวนารัตนญาณ วิ.หรือครูบาอริยชาติ อริยจิตโต ซึ่งเป็นพระเกจิที่มีชื่อเสียงโด่งดังเนื่องในโอกาสวัดคล้ายวันเกิดครูบาอริยาชาติ 43 ปี โดยทางวัดจัดให้มีกิจกรรมไถ่ชีวิตโค-กระบือ ทุกตัวที่พบเห็นโดยเฉพาะใน อ.แม่สรวย โดยมีการส่งทีมงานไปติดต่อตามโรงฆ่าสัตว์ทุกแห่งรวมทั้งมีกิจกรรมงานบุญอื่นๆ ภายในวัดด้วย

 
ครูบาอริยชาติ กล่าวว่าอานิสงฆ์การให้ชีวิตทำให้เรามีชีวิตและอายุยืนรวมทั้งมีอิสระจากสิ่งพันธนาการโดยพบโค-กระบือกี่ตัวก็เหมาซื้อมาทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการปล่อยปลา 440,000 ตัวที่เขื่อนแม่สรวย รวมทั้งไปยังตลาดต่างๆ เพื่อซื้อปลา กุ้ง หอย เต่า ฯลฯ สัตว์ต่างๆ เพื่อนำไปปล่อยเพิ่มเติมอีกด้วยที่เหลือ ถ้าไม่พบก็ถือเป็นบาปกรรมเดิมของเขาต่อไป สำหรับภายในวัดมีการบวชพระภิกษุ เณรและชีพราห์ม โดยปี 2567 นี้มีพระภิกษุจำนวน 100 กว่ารูป เณร 10 กว่ารูปและชีพราห์ม 100 กว่าคน ปฏิบัติธรรมในวัดร่วม 300 รูป
 
 
ครูบาอริยชาติ กล่าวอีกว่าในโอกาสเดียวกันได้มีผู้ถวายพระรัตนมณีญาณเป็นพระแก้วประดับเครื่องทรงทองคำหนัก 5 กิโลกรัมกว่า อัญชมณีพลอย 900 กว่าเม็ด ให้กับวัดแสงแก้วโพธิญาณซึ่งจะนำประดิษฐานในหอพระแก้วเก้าภายในวัดต่อไป ขณะเดียวกัน “ต้อย เมืองนนท์” (พิศาล เตชะวิภาคอุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย) ได้ถวายพระคันธาระ อายุราว 2,200 ปีซึ่งประมูลมาได้จากต่างประเทศให้กับทางวัดด้วย หลังจากแห่พระพุทธรูปและสมโภชน์แล้วจะมีการวางศิลาฤกษ์ ตอกเสาเข็ม 5 ต้นแรก เพื่อสร้างมหาเจดีย์ฐานกว้าง 3 ไร่กว่า ตัวองค์เจดีย์ 2 ไร่กว่า สูง 149 เมตรหรือเท่าตึก 50 ชั้น เพื่อเป็นพุทธบูชา ฯลฯ ต่อไป
 
 
สำหรับครูบาอริยชาติได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 9 ม.ค.2524 ที่บ้านปิงน้อย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นบุตรของโยมพ่อสุข โยมแม่จำนง อุ่นต๊ะ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกัน 3 คน เป็นผู้ชายทั้งหมด ครูบาอริยชาติบวชเป็นสามเณรเมื่อปี 2541 ที่วัดชัยมงคล ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน และอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดพัทธสีมาชัยมงคล (วังมุย) อ.เมือง จ.ลำพูน กระทั่งได้รับนิมนต์ของญาติโยมให้ไปอยู่ที่ อ.แม่สรวย และสร้างวัดแสงแก้วโพธิญาณจนถึงปัจจุบัน.
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ศิลปินจากนิวยอร์คและ CiNEMA For All ชวนชาวเชียงแสนร่วมกิจกรรมศิลปะร่วมสมัย

 
เมื่อวันศุกร์ที่ 5 มกราคม   2567 นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนายฤษ์ฤทธิ์ ติระวณิช และนางกฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ นายอังกฤษ อัจฉริยโสภณ และนางสาวมนุพร เหลืองอร่าม ภัณฑารักษ์ นางสาวชลิดา เอื้อบำรุงจิต ผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ นายพิสันต์ จันทรศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นายสุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะ และเจ้าหน้าที่สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย 
 
 
เข้าร่วมกิจกรรมในงานไทยแลนด์เบียนนาเล่เชียงราย ได้แก่ ขบวนพาเหรดของศิลปิน  Arto Lindsay ศิลปินจากนิวยอร์คในชุด “Liquid  Paper” ซึ่งมีประชาชนชาวศรีดอนมูลแต่งกายเข้าร่วมขบวนพาเหรดอย่างสนุกสนาน เริ่มจากวัดศรีชัยแม่มะ ไปยังโรงเรียนบ้านแม่มะ จากนั้นร่วมกิจกรรมเสวนาของ Cinema for All พาวิลเลี่ยนของพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (MoMA) จากนิวยอร์ค โดยมี Tilda Swinton นักแสดงชื่อดังจากฮอลล์วู้ด จอซ ซีเกล ภัณฑารักษ์ภาพยนตร์ของพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (MoMA) นิวยอร์ค และ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยฝีมือระดับโลก ร่วมเสวนา โดยชมวรรณ วีรวรวิทย์ ดำเนินรายการ และร่วมชมภาพยนตร์ตามโปรแกรม  “เงาเหล่าบรรพชนที่ถูกลืมของเรา” ผ่านการฉายภาพยนตร์นานาชาติแบบหนังกลางแปลงทั้งจอหน้าและจอหลัง 
 
 
โดยได้รับการสนับสนุนจากชาแนล แบรนด์ชั้นนำระดับโลก โดยได้รับการสนับสนุนจากหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) หอภาพยนตร์และภาพยนตร์สถานฝรั่งเศส หอภาพยนตร์เบลเยียมและฝรั่งเศส หอภาพยนตร์เมืองโบโลญญา สถาบันภาพยนตร์เนเธอร์แลนด์ และคลังจัดเก็บ Archivo National de la Imagen-Sodre (Montevideo) ภายในงานมีศิลปิน บุคคลในวงการศิลปะร่วมสมัย วงการภาพยนตร์ ภัณฑารักษ์ชั้นนำ นักแสดง ผู้สนใจงานศิลปะ และประชาชนในพื้นที่อำเภอเชียงแสน เข้าร่วมกิจกรรมฯ ครั้งนี้อย่างคับคั่ง อาทิ คุณพิมพกา โตวิระ หมาก ปริญ มิว นิษฐา ฯลฯ
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE NEWS UPDATE

เตรียมจัดงานสืบชะตาหลวงอายุวัฒนมงคล ‘พระครูบาบุญชุ่ม’ 60 ปี 40 พรรษา

 
ที่วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ซึ่งเป็นวัดที่พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร อรัญวาสีภิกขุ ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ปฏิบัติศาสนกิจประจำตลอดที่อยู่ในประเทศไทย มีการเตรียมความพร้อมงานสืบชะตาหลวงอายุวัฒนมงคล พระครูบาบุญชุ่ม ครบรอบ 60 ปี 40 พรรษา


พล.ต.อ.มนตรี ยิ้มแย้ม ประธานกรรมการมูลนิธิดอยเวียงแก้ว เปิดเผยว่า พิธีเจริญพระพุทธมนต์สืบชะตาหลวงอายุวัฒนมงคล พระครูบาบุญชุ่ม ครบรอบ 60 ปี ในวันที่ 5 ม.ค.67 และทางวัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว ได้จัดงานสืบชะตาหลวงอายุวัฒนมงคล พระครูบาบุญชุ่ม 60 ปี 40 พรรษาขี้น ในวันที่ 7-9 ม.ค.67 ซึ่งขณะนี้ทางวัดเตรียมความพร้อมในทุกด้าน ทั้งการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับบรรดาชาวพุทธที่เดินทางมาจากทั่วประเทศ และมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่มาร่วมด้วยแรงศรัทธาต่อพระครูบาบุญชุ่ม


และปีนี้เป็นปีที่พระครูบาบุญชุ่มมีอายุครบ 60 ปี แต่ละปีงานอายุวัฒนมงคลสืบชะตาหลวงของพระครูบา ชาวพุทธเดินทางมากราบ ฟังธรรมะ รับพรจากพระครูบาบุญชุ่มกันอย่างเนืองแน่นทุกปีคาดว่าปีนี้จะมีคลื่นมหาชนชาวพุทธมาร่วมงานบุญกันจำนวนมากอย่างแน่นอน 
 
 
โดยจะมีกำหนดการจัดงานดังนี้
– ในวันที่ 5 ม.ค. 67 เวลา 16.30 น. อัญเชิญพระอุปคุตจากท่าน้ำโขงสามเหลี่ยมทองคำไปประดิษฐาน ณ หอพระอุปคุต วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว
– วันที่ 7 ม.ค. 67 เวลา 05.00 น. สวดมนต์ ทำวัตรเช้า 09.09 น. ตานข้าว 4 ผืน ณ ลานพระคันธาระองค์ปฐม วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว เวลา 19.00 น. สวดมนต์ทำวัตรเย็น
– วันที่ 8 ม.ค. 67 เวลา 05.39 น. เริ่มการเทศน์มหาชาติ 07.39 น. ทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งบริเวณทางขึ้นวิหารบุญชุ่มรัตนปุรี ศรีธรรมราชา เวลา 13.39 น. มอบถุงยังชีพแก่ราษฎร โดยนายประจักษ์ และนางละออ ตั้งคารวคุณ ประธานกรรมการบริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด


จากนั้น 14.09 น. มอบทุนการศึกษานักเรียน นักเรียนปริยัติธรรมและทุนสัมมาอาชีพ โดยนายแพทย์ปราเสริฐ ประสาททองโอสถ ผู้ก่อตั้ง บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และบริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
วันที่ 9 ม.ค. 67 เวลา 09.39 น. พิธีสืบชะตาหลวงพระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร อรัญวาสีภิกขุ และเวลา 14.00 น. พิธีสรงน้ำพระครูบาบุญชุ่ม


พล.ต.อ.มนตรี กล่าวอีกว่า การทำบุญสืบชะตาหลวง อายุวัฒนมงคลของครูบาบุญชุ่ม ก็คือวันแห่งการให้ ครูบาบุญชุ่มให้ทุนการศึกษา ให้อาหารการกิน ให้กำลังใจเป็นธรรมะ จนกล่าวกันว่าวันเกิดของท่านนั้นเป็นวันที่ท่านเหนื่อยมากวันหนึ่ง โดยวันดังกล่าวนี้จะมีคนไปรอกราบพระครูบาหลายหมื่นคน ทุกคนตั้งใจไปฟังธรรมะ ซึ่งทุกคนก็ไปด้วยใจศรัทธาในพระครูบาบุญชุ่ม และร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ทำบุญสืบชะตาหลวง อายุวัฒนมงคลครบ 60 ปีให้กับท่านด้วย
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

“Thailand Biennale at Night” สวดมนต์ข้ามปี ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน

 

เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เวลา 21.00 น. ที่ผ่านมา พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และนายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีเปิดกิจกรรม Thailand Biennale at Night และกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ๒๕๖๗ โดยมีคณะสงฆ์ พร้อมด้วยนายชาตะ ใหม่วงค์ นายทรงเดช ทิพย์ทอง ศิลปินในงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ข้าราชการ และเครือข่ายพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ณ ลานแสดงผลงาน “นิพพานเมืองแก้ว” ณ ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน โดยมีการนำคณะผู้ร่วมงานชมงานศิลปะยามค่ำคืน และไฮไลท์สำคัญของการจัดกิจกรรมคือการจัดแสดง ผลงานศิลปะในรูปแบบ Immersive Art บนผลงาน นิพพานเมืองแก้ว พร้อมการบรรยายบทกวีจากพระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี)

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายนางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปและวัฒนธรรม นายวรพล จันทร์คง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ เข้าร่วมกิจกรรม
 
 

โดยมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale ครั้งที่ 3  กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 – 30 เมษายน 2567 ภายใต้ชื่องาน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ด้วยแนวคิด “เปิดโลก” (The open World) ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากพระพุทธรูปปางเปิดโลกที่โบราณสถาน วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน

 

คัดเลือกผลงานจากศิลปิน 60 คน จาก 23 ประเทศทั่วโลก จัดแสดงเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) นิทรรศการหลัก แสดงผลงานศิลปะการจัดวางเฉพาะพื้นที่ (Site Specific Installation) จัดแสดงในเขตอำเภอเมืองและเชียงแสน 2) Pavilion หรือ ศาลา แสดงผลงานนิทรรศการกลุ่มของศิลปิน พิพิธภัณฑ์ และองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 10 แห่งในอำเภอเมืองและอำเภอใกล้เคียง 3) Collateral Events เป็นกิจกรรมพิเสษที่จัดขึ้นในช่วงงาน เช่น ดรตรีชาติพันธุ์ งานฉายภาพยนตร์ การแสดงอื่นๆ และการเยี่ยมชมบ้านหรือสตูดิโอของศิลปินในจังหวัดเชียงรายตามอำเภอต่างๆ

 

#นิพพานเมืองแก้ว
ไม้ใหญ่ ต้องเจอขวานคม
คนเด่น ต้องมีคนด่า
คนมีปัญญา จึง…มีคนลองดี
คนทำงานดี จึง….มีคนริษยา
ปรากฎการณ์เช่นว่านี้
จึงเป็นเรื่อง “ธรรมดา”
(กวี : ว.วชิรเมธี)
(รังสรรค์ศิลป์ : ชาตะ ใหม่วงศ์) Chata Maiwong
(Thailand Biennale Chiangrai 2023)
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

นักท่องเที่ยวคึกคัก ‘ตักบาตรดอกไม้’ อัญเชิญพระพุทธรูป 9 องค์ หนึ่งเดียวในล้านนานักท่องเที่ยวคึกคัก ‘ตักบาตรดอกไม้’

 
เมื่อบ่ายวันศุกร์ที่  29 ธ.ค. 66 ที่ผ่านมา ที่บริเวณสวนตุงและโคมนครเชียงราย ถนนธนาลัย ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และพระพุทธิญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในพิธีตักบาตรดอกไม้ หนึ่งเดียวในล้านนา
 
โดยมี นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ดร.วันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย นางรัตนา จงสุทธานามณี ที่ปรึกษา รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย ) และ นายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเชียงราย นำชาวเชียงรายเเละ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศร่วมกันตักบาตรดอกไม้ หนึ่งเดียวในล้านนา ซึ่งมีขบวนฟ้อนเชียงรายจากนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงราย
 
ซึ่งเทศบาลนครเชียงรายได้จัดให้มีงานเชียงรายดอกไม้งาม ปีที่ 20 ณ บริเวณสวนตุงและโคมนครเชียงราย ในระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2566 ถึง 15 มกราคม 2567 นี้ โดยมีการอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 9 องค์จาก 9 วัดในอำเภอเมืองเชียงราย ประดิษฐานบนรถบุษบก 9 คัน เคลื่อนไปตามถนนธนาลัย เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้ร่วมกันนมัสการและร่วมตักบาตรดอกไม้เพื่อความเป็นสิริมงคลจากนั้น พระสงฆ์และสามเณรออกรับบิณฑบาตรดอกไม้ โดยพร้อมเพียงกัน 
 
มีประชาชนออกมาร่วมทำบุญใส่บาตรด้วยดอกไม้ ร่วมกันอย่างคับคั่ง ซึ่งสร้างความประทับใจให้นักผู้ร่วมทำบุญตักบาตรอย่างมาก เพราะราชรถแต่ละคันมีความสวยที่ไม่ซ้ำกัน และสร้างโดยศิลปินแต่ละจังหวัด ใช้ระยะเวลาสร้าง 9 ปี โดยในหนึ่งปีจะนำออกให้ประชาชนและนักนักท่องเที่ยวได้ชมในการร่วมพิธีที่สำคัญเพียง 2 ครั้งเท่านั้น คือ ตักบาตรดอกไม้และตักบาตรวันขึ้นปีใหม่เท่านั้น
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

พิธีต่อไฟพระฤกษ์ประทานจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

 

พิธีต่อไฟพระฤกษ์ประทานจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกในกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี เสริมสิริมงคลทั่วไทย ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับศักราชใหม่ 2567 นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีฯ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย และเปิดกรวยดอกไม้ธูปเทียนแพ ถวายสักการะเบื้องหน้าพระรูปสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

 

นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย และ นายโสไกร ใจหมั้น ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย ถวายไฟพระฤกษ์ประทานของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และน้ำพระพุทธมนต์ แด่เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย (มหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย)

 

พระพุทธิญาณมุนี (ประเสริญ ปญฺญาวชิโร) เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย (มหานิกาย) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน พร้อมด้วย พระสิริวัฒโนดม วิ. (สุขเลิศ กนฺตธมฺโม) เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย (ธรรมยุติกนิกาย) เจ้าอาวาสวัดบ้านเหล่า (ธ) อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จุดไฟพระฤกษ์ประทานฯ และดำเนินพิธีต่อไฟพระฤกษ์ประทานฯ แก่เจ้าอาวาสพระอารามหลวง และเจ้าคณะอำเภอทุกอำเภอ ทั้ง 2 นิกาย ในโอกาสมงคลนี้ เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย ทั้ง 2 นิกาย เมตตากล่าวสัมโมทนียกถา

 

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ประทานไฟพระฤกษ์แด่ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม นำไปถวายเจ้าคณะจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อจุดเทียนมงคลในพิธีสวดมนต์ข้ามปี เสริมสิริมงคลทั่วไทย ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับศักราชใหม่ 2567 อันเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่พุทธศาสนิกชนที่เข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีของแต่ละวัดในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และเป็นสิริมงคลยิ่งของการเข้าสู่ศักราชใหม่ ดังนั้น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย จึงได้ดำเนินการจัดพิธีต่อไฟพระฤกษ์ประทานฯ ในวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2566 เวลา 14.30 – 16.00 น. ณ อุโบสถวัดพระสิงห์ พระอารามหลวง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

 

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นำข้าราชการและบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นางพรทิวา ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม นายภัทรพงษ์ มะโนวัน หัวหน้ากลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน นายพิพัฒน์ สุ่มมาตย์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และนายอภิชาต กันธิยะเขียว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่กลุ่มพิธีฯ ดำเนินการจัดพิธีฯ ดังกล่าว พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกแด่คณะสงฆ์

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ชาวบ้านป่าตึงริมกก เชียงราย รับพระธุดงค์กว่า 80 รูป มุ่งหน้า อ.แม่จัน

 

วันที่ 28 ธันวาคม 2566 คณะพระสงฆ์-สามเณรกว่า 80 รูป จาริกธุดงค์โครงการจาริกธรรมตามรอยบาทพระศาสดาปีที่10 ฝึกฝนอบรมเพื่อที่จะไปจาริกที่ประเทศ อินเดีย เนปาล ได้เดินทางมาถึงป่าตึงริมกก โดยมีพุทธศาสนิกชนชาวอำเภอเมือง จ.เชียงราย ที่ทราบข่าวต่างยินดี พร้อมทั้งเตรียมข้าวสาร อาหารแห้งเพื่อนำมาถวายเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์ได้สอบถามจากคณะพระสงฆ์ และสามเณรกว่า 80 รูป ที่เข้าร่วมโครงการจาริกธรรมตามรอยบาทพระศาสดาปีที่ 10 ฝึกฝนอบรมเพื่อที่จะไปจาริกที่ประเทศ อินเดีย เนปาล โดยท่านได้เดินทางมาจากวัดเกาะวาลุการาม ต.สวนดอก อ.เมือง จ.ลำปาง เดินเท้าธุดงค์ผ่านเส้นทางต่างๆ มุ่งหน้าสู่วัดดอยเทพนิมิต ต.ป่าซาง อ.แม่จัน จ.เชียงรายตั้งแต่วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม 2566 -วันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2566 โดยมีพระภิกษุสงฆ์ สามเณร แม่ชี และคณะศรัทธาผู้ติดตาม เดินทางร่วมกว่า 80 รูป

ซึ่งกำหนดการคณะพระสงฆ์-สามเณรกว่า 80 รูป ดังนี้

27 ธันวาคม 2566 เข้าพัก ป่าช้าหมู่5 บ้านป่าตึงริมกก ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย

28 ธันวาคม 2566 จุดที่พัก คือ วัดสุวรรณคีรี ต.แม่จัน อ.แม่จัน จ.เชียงราย

29 ธันวาคม 2566 จุดสุดท้ายวัดดอยเทพนิมิต ต.ป่าซาง อ.แม่จัน จ.เชียงราย

โดยมีการทำวัตรเย็น และ ทำวัตรเช้า ผู้ใจบุญ สามารถไปร่วมใส่บาตรและถวายภัตตาหารได้เวลา 07.30 น. สามารถร่วมบุญได้ตามกำลังศรัทธา

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

เพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน โครงการสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน

 

วันอังคารที่ 26 ธันวาคม  2566 เวลา 09.00 เป็นต้นไป ณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายบูรณาการร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายและเครือข่ายสภาวัฒนธรรมอำเภอ 18 อำเภอ จัดกิจกรรมภายใต้โครงการสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน สู่การเพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

  โดยมี ผศ. ยิ่งศักดิ์ เพชรนิล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯ  อาจารย์ ดร.อดิเทพ วงศ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กล่าวต้อนรับ และ นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวรายงาน

   โครงการสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน สู่การเพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2566 สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดเชียงราย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ และกระตุ้นให้บุคคลในท้องถิ่นตลอดจนเด็กและเยาวชน ตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยนำหลักคุณธรรมมาใช้ในการดำรงชีวิตบนพื้นฐานความพอเพียงได้ รวมถึงการอนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถูกต้องตามแบบฉบับให้คงอยู่สู่เด็ก เยาวชนและประชาชนตลอดไป เพื่อสร้างทัศนคติ ค่านิยม ให้บุคคลในท้องถิ่นเกิดความรักถิ่นฐาน หวงแหนมรดกทางวัฒนธรรม อันดีงามให้อยู่คู่สังคมไทย

 

มีกิจกรรมภายใต้โครงการฯ ประกอบด้วย

  1. การเสวนา “ภูมิปัญญาพื้นบ้าน สู่การเพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรม” ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย

      1.1 พระครูปิยวรรณพิพัฒน์ ,ดร. ประธานคลังปัญญาจังหวัดเชียงราย เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการคลังปัญญาผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย

      1.2 ร.ศ. มาลี หมวกกุล ประธานสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ประยุกต์ มร.ชร. เรื่อง อาหารภูมิ อาหารถิ่น กับการยกระดับสู่สากล

      1.3 อาจารย์ ดร.อดิเทพ วงศ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มร.ชร. เรื่อง ประเพณีท้องถิ่นล้านนา

     1.4 นายอนุสรณ์ บุญเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มร.ชร. เรื่อง ความเชื่อ วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษาอักขระล้านนา

      1.5 นายธันวา เหลี่ยมพันธุ์ รองประธานสภาวัฒนธรรมเชียงราย เรื่อง การส่งเสริม รักษา และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น

     …ผู้ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.รณิดา ปิงเมือง ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

  1. การแสดงมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ด้านการละเล่นพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว “การแสดงชุดจายเจิงหาญ”
  2. การขับซอพื้นบ้าน โดย นางบัวลอย โชติสิริพัชญ์ คนดีศรีเชียงราย สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี 2566
  3. การสาธิตมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จากเครือข่ายสภาวัฒนธรรมทั้ง 18 อำเภอ
  4. การสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม (CPOT) และภูมิปัญญาพื้นบ้าน

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้มอบหมายให้นักวิชาการวัฒนธรรม ผู้ประสานงานวัฒนธรรมอำเภอ และเจ้าหน้าที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ร่วมจัดกิจกรรมและอำนวยความสะดวกแก่เครือข่ายทางวัฒนธรรมและผู้มาร่วมงาน และการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News