ข้อมูลสะสมระหว่างวันที่ 9 ก.ย. – 9 ต.ค. 2567 รวมทั้งสิ้น 13 อำเภอ 64 ตำบล 581 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (52 ชุมชน) โดยราษฎรได้รับผลกระทบเบื้องต้น 56,587 ครัวเรือน เสียชีวิต 14 ราย บาดเจ็บ 3 ราย บ้านเรือนราษฎรได้รับผลกระทบ(เสียหายทั้งหลัง) 112 หลัง ตลาดชุมชนเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบ 2 แห่ง ร้านค้า/สถานประกอบการ 92 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรม 19 แห่ง พื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 18,587 ไร่ ปศุสัตว์ได้รับผลกระทบ 49,054 ตัว (ได้แก่ โค 1,110 ตัว กระบือ 176 ตัว สุกร 66 ตัว แพะ/แกะ 25 ตัว สัตว์ปีก 47,677 ตัว) สัตว์เลี้ยง 322 ตัว (ได้แก่ สุนัข 145 ตัว แมว 154 ตัว และอื่นๆ 23 ตัว) บ่อปลา 1,074.53 ไร่ ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ได้รับผลกระทบ ได้แก่ โรงเรียน 42 แห่ง ถนน 42 จุด คอสะพาน 5 จุด และ รพ.สต. 1 แห่ง

 

รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งได้เตรียมการมาเป็นอย่างดีทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ พร้อมกำลังพลในการเข้าไปช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน แต่เนื่องจากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง หลายวัน ทำให้วันนี้ (9 ตุลาคม 2567) ได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่

 

โดยเฉพาะที่ ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย อ.เชียงแสน อ.เชียงของ อ.แม่จัน อ.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่สาย อ.ดอยหลวง อ.เทิง อ.เวียงแก่น อ.เวียงป่าเป้า อ.แม่สรวย อ.เวียงชัย และอ.แม่ลาว เกิดน้ำท่วมหนักในรอบหลายปี อย่างไรก็ตาม นายโชตินรินทร์ เกิดสม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจ และเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน หากประชาชนต้องการขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุ แจ้งได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สายด่วน 1784

 

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย รายงานสถานที่เกิดเหตุ/ความเสียหาย/การให้ความช่วยเหลือ (เหตุต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. 67 และสถานการณ์ในวันนี้ (9 ต.ค. 67) ดังนี้

 

การให้ความช่วยเหลือ จังหวัดเชียงราย ได้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2567 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีพ ผ่านทางธนาคาร กรุงไทย สาขาเชียงราย เลขที่บัญชี 504-3-23-732-5 ชื่อบัญชี กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2567 โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่า ยอดเงินบริจาค ณ วันที่ 9 ต.ค. 67 เวลา 16.30 น. จำนวน 9,670,321.42 บาท

 

การดำเนินการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย การดำเนินการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย อ.แม่สาย แบ่งพื้นที่ดำเนินการเป็น 2 โซนหลัก 6 โซนย่อย โซนหัวฝาย-สายลมจอย/เกาะทราย/ไม้ลุงขน : กระทรวงกลาโหม โซนเหมืองแดง/เหมืองแดงใต้/ ปิยะพร : กระทรวงมหาดไทย

 

ศูนย์พังพิงที่ยังคงให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลแม่สาย จำนวน 87 ราย ศูนย์พักพิงวัดถ้ำผาจม 50 ราย ศูนย์พักพิงวัดเหมืองแดง 52 ราย รวมทั้งสิ้น 189 ราย

 

การดำเนินการปิดจุดรอยรั่ว ป้องกันการอุบัติซ้ำกรมการทหารช่าง เสริมความแข็งแรงของแนว Big Bag จำนวน 7 จุด ดำเนินการวางแนวชั้นที่ 1 จุดท่าเจ้ดาว จำนวน  40 เมตร (ผลการดำเนินการ 100%) ในวันพรุ่งนี้ (วันที่ 10 ต.ค. 67) จะดำเนินการวางแนวชั้นที่ 2/ บ้านเหมืองแดงใต้ ซึ่งไม่มีแนว Big Bag แต่ใช้การบดอัดคันดินป้องกันน้ำท่วมทดแทน แผนดำเนินการระยะทาง 200 เมตร ดำเนินการได้ 150 เมตร (75%)

 

สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา วางชีทไพล์ 120 ต้น การฟื้นฟูระบบจ่ายน้ำประปาแผนการซ่อมแซมระบบประปา 472 จุด ดำเนินการแล้วเสร็จ 409 จุด(87%)  จุดซ่อมคงค้าง 63 จุด (14%) (จุดสำรวจแล้วรอเข้าซ่อม 61 จุด, จุดซ่อมคงค้าง 2 จุด)

 

การจ่ายน้ำเข้าพื้นที่ กปภ. สาขาแม่สาย จ่ายน้ำเข้าพื้นที่บริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ห้าแยกตลาดพลอย อาคารอเนกประสงค์บ้านเกาะทราย (เฟส 1 ตามแผนการจ่ายน้ำทั้งหมด 3 เฟส) โดยได้ระดมเจ้าหน้าที่จาก กปก.ข.9 และ กปก.สาขาในสังกัดใกล้เคียง เข้าสำรวจ/ซ่อมแซมระบบประปาที่ชำรุด/เสียหาย ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถจ่ายน้ำได้อย่างต่อเนื่อง ภายในวันที่ 8 ต.ค. 67 ในส่วนของพื้นที่ในเฟส 2 (ถนนไม้ลุงขน ตลาดพลอย ตลาดไม้ลุงขน เหมืองแดง) และเฟส 3 (เกาะทราย ไม้ลุงขน ผามควาย) กปก. ได้ประสานหน่วยงานฟื้นฟูพื้นที่ เพื่อร่วมกันวางแผนเคลียร์พื้นที่ตามลำดับ และคาดว่าจะสามารถจ่ายน้ำได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ภายในวันที่ 14 ต.ค. 67

การจ่ายน้ำโดยรถบรรทุกน้ำ กปภ. จำนวน 6 คัน เติมถังน้ำวัดถ้ำผาจม/ถังบ้านอาข่า แจกจ่ายน้ำพื้นที่หยุดจ่ายน้ำชุมชนเกาะทราย ชุมชนไม้ลุงขน  ผามควาย ชุมชนภูผาคำ และห้าแยกตลาดพลอย เติมรถสุขาสาธารณะ ศูนย์พักพิงวัดพรหมวิหาร

 

กปภ. สาขาแม่สาย สนับสนุนน้ำให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ รถน้ำของ ป4.พัน.104 และพัน สห.31 รถน้ำของ ส.พัน4. เพื่อสนับสนุนให้แก่ชุมชนบริเวณศาลเจ้าพ่อคำแดง รถน้ำของ มทบ.33 เพื่อสนับสนุนให้แก่โรงเรียนไม้ลุงขนฯ รถน้ำของ ร.17 และ ร.17พัน.2 เพื่อสนับสนุนให้แก่ชุมชนไม้ลุงขน โซน 3D รถน้ำของ ป.4 พัน.7 กองพันพัฒนาที่ 3  พัน สร.4 พลร.4 เพื่อสนับสนุนให้แก่ชุมชนหัวฝาย-สายลมจอย

 

การฟื้นฟูระบบจ่ายไฟฟ้า

ค้างจ่ายไฟฟ้าจำนวน 258 หลังคาเรือน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาแม่สาย ประกาศแผนกำหนดการเข้าตรวจสอบความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เพื่อต่อกลับการใช้ไฟ ในพื้นที่บ้านเกาะทราย ม.7, บ้านไม้ลุงขน ม.10 และบ้านเหมืองแดง ม.2 ทั้งนี้ ได้มีประกาศขอความร่วมผู้ใช้ไฟที่ประสงค์ต่อกลับการใช้ไฟในพื้นที่ดังกล่าว รอรับการตรวจสอบฯ ตามกำหนดการดังนี้  วันที่ 7 ตุลาคม 2567 ถนนไม้ลุงขน ตลาดพลอยวันที่ 8 ตุลาคม 2567 เกาะทราย เกาะสวรรค์ ผามควาย วันที่ 9 ตุลาคม 2567 เหมืองแดง ซ.6 เหมืองแดง ซ.8 หน้าโรงเรียนไม้ลุงขนฯ

การดำเนินการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย อ.เมืองเชียงราย

 

หมู่บ้านธนารักษ์ กองทัพบก ต.ริมกก อ.เมืองชร. : หน่วยรับผิดชอบ ได้แก่ มทบ.37 และกอ.รมน.จว.เชียงราย ภารกิจดูดโคลนถนนสายหลักภายในหมู่บ้าน 2 สาย นำขยะไปยังที่พักขยะ และฉีดน้ำรีดโคลนออกจากบ้าน รายละเอียดดังนี้ อาคารบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบ 273 หลัง แสดงเจตนาให้เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการ 63 หลัง ดำเนินการฟื้นฟูเรียบร้อยแล้ว 61 หลัง (97%) รอดำเนินดำเนินการ 2 หลัง (3%)

 

พื้นที่นอกเขตเทศบาลนครเชียงราย : หน่วยรับผิดชอบ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

ตำบลแม่ยาวบ้านป่าอ้อใหม่ หมู่ที่ 5 ซอยทวีรัตน์ (พื้นที่คาบเกี่ยวกับชุมชนทวีรัตน์ เขตเทศบาลนครเชียงราย) ผลการดำเนินการความก้าวหน้า มีน้ำท่วมขังจำนวน 10 ครัวเรือน ระดับน้ำประมาณ 30 – 50 ซม.  ยังไม่สามารถเข้าดำเนินการได้ ตำบลดอยฮาง บ้านผาเสริฐพัฒนา หมู่ที่ 6 บริเวณบ่อน้ำพุร้อนผาเสริฐ ดำเนินการล้างอาคาร สระน้ำพุ กำจัดดินโคลนและปรับพื้นที่ ตำบลริมกก บ้านเมืองงิม หมู่ที่ 4 ภาพรวมผลการดำเนินการฉีดล้างทำความสะอาดบ้านเรือน 95% (ที่เหลือหมู่บ้านดำเนินการเอง) อยู่ระหว่างซ่อมพนังกันน้ำ วางบิ๊กแบ็ค ทำทางชั่วคราว ต.รอบเวียง บ้านป่างิ้ว หมู่ที่ 4 (หาดเชียงราย) ภาพรวมผลการดำเนินการ 65% ขนย้ายดินดินโคลน เก็บขยะ ทำความสะอาดร้านค้า 32 หลัง บ้านที่อยู่อาศัย อบต.รอบเวียงได้เข้าดำเนินการฟื้นฟูเรียบร้อยแล้วคงค้างขยะบ้านเรือน ต.นางแล บ้านเด่น หมู่ที่ 5 ทำพนังกั้นน้ำ(พนังดิน) 1 จุด ผลดำเนินการ 100% ต.ห้วยชมภู ถ.บ้านจะคือ หมู่ที่10 เส้นทางไปบ้านแม่สลัก หมู่ที่ 9 อยู่ระหว่างปรับเกลี่ยดิน เปิดใช้เส้นทาง

 

การก่อสร้างบ้านน็อคดาวน์ให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วม กรณีบ้านถูกน้ำพักเสียหายทั้งหลัง ตามโครงการ “โครงการบ้านร่วมใจ” ในพื้นที่ตำบลแม่ยาว ตำบลริมกก และตำบลดอยฮาง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย เป้าหมายรวม 31 หลัง ดำเนินการโดยเรือนจำกลางจังหวัดเชียงราย คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 17 ต.ค. 67

 

การกำจัดเศษวัสดุ ขยะ และดินโคลนตามเส้นทาง จุดพักขยะจำนวน 7 จุด ปริมาณขยะ 45,783 ตัน

เทศบาลนครเชียงราย ดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชน ดังนี้ ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมเบื้องต้น ครอบครัวละ 2,500 บาท  มอบไปแล้ว 7,590 ครัวเรือน เป็นเงินทั้งสิ้น 18,975,000 บาท คงเหลืออีก 838 ครัวเรือน เยียวยาตาม มติ ครม. เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2567 มอบไปแล้ว 3,690 ครัวเรือน เป็นเงินทั้งสิ้น 18,450,000 บาท คงเหลืออีก 4,738 ครัวเรือน

 

การดำเนินการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย อ.เวียงป่าเป้า

เทศบาลตำบลป่างิ้ว พร้อมด้วยฝ่ายปกครองร่วมกันฟื้นฟูทำความสะอาดบ้านเรือนราษฎรและซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2567 ดำเนินการแล้วเสร็จ 100%

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง พร้อมด้วยฝ่ายปกครองร.17พัน.3 ภาคเอกชน และราษฎรในพื้นที่ ร่วมกันฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบบ้านห้วยหินลาด(หย่อมบ้านห้วยทรายขาว) หมู่ที่ 7 ต.บ้านโป่ง

 

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาเวียงป่าเป้า ซ่อมแซมระบบจ่ายไฟให้กับครัวเรือนในพื้นที่

หย่อมบ้านห้วยไม้เดื่อ บ้านดงหล่ายหน้า หมู่ที่ 7 ต.เวียง และหย่อมบ้านห้วยทรายขาว บ้านห้วยหินลาด หมู่ที่ 7 ต.บ้านโป่ง ผลดำเนินการกู้ระบบไฟฟ้าประมาณ 95% คาดว่าจะแล้วเสร็จในวันพรุ่งนี้ (วันที่ 10 ต.ค.67)

 

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย

รถประกอบอาหารเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. 67 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน (วันที่ 8 ต.ค. 67) ประกอบอาหาร จำนวน 2 มื้อ รวมทั้งหมด 3,630 กล่อง ประกอบด้วยเมนู หมูผัดพริกไทยดำ ลาบหมู ผัดคะน้าหมูชิ้น  ผัดกระเพราหมูชิ้น ผัดพริกแกงหมูชิ้น ไก่กรอบผัดกระเทียม เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ประสบอุทกภัยอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

 

ชมรมแม่บ้านมหาดไทย

“แม่บ้านมหาดไทยร่วมใจฟื้นฟูเชียงราย” จัดตั้งโรงครัว (ครัวแม่บ้านมหาดไทย) เพื่อผลิตอาหาร เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและดินถล่ม ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ณ หอประชุมชั้นล่างอาคาร 7 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค. 67 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน (วันที่ 7 ต.ค. 67)

 

กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน ได้ส่งกำลังพล สมาชิก อส. จากส่วนกลาง และร้อย อส.จ. จาก 36 จังหวัด กองบังคับการจังหวัด จำนวนไม่น้อยกว่า 1,462 นาย ปฏิบัติภารกิจฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ประสบอุทกภัยและช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2567 เป็นต้นไป จนกว่าจะสิ้นสุดภารกิจ รายละเอียดดังนี้

อ.แม่สาย จ่ายกำลังพล 850 นาย ดำเนินการในพื้นที่บ้านเหมืองแดงใต้ บ้านเหมืองแดง และหมู่บ้านปิยะพร เป้าหมาย 314 หลัง

อ.เมืองเชียงราย จ่ายกำลังพล 612 นาย ดำเนินการในพื้นที่ในเขตเทศบาลนครเชียงราย

นอกเขตเทศบาลนครเชียงราย (พื้นที่ตำบลแม่ยาว ดอยฮาง ริมกก รอบเวียง ห้วยชมภู และนางแล) และพื้นที่สาธารณะ

 

การสนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัยด้านปฏิบัติการ (อุทกภัย) และกำลังพล ของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต ประจำวันที่ 9 ต.ค. 67 ดังนี้

ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 8 กำแพงเพชร เขต 9 พิษณุโลก เขต 10 ลำปาง  เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 15 เชียงราย นำหัวลากพร้อมหางลากจูงเครื่องจักรกล รถขุดตักไฮดรอลิคยกสูง รถตักล้อยางเอนกประสงค์ รถขุดล้อยางกู้ภัยปรับฐานล้อ รถตีนตะขาบ รถบรรทุเทท้าย 6 ล้อ 6 ตัน รถบรรทุกขนาดใหญ่ 6 ล้อ รถขุดตักไฮดรอลิค ทั้งชนิดแขนสั้น และแขนยาว ทำการขุดตักขนย้ายดินโคลน เศษวัสดุ สิ่งปรักหักพัง ออกจากบ้านเรือนราษฎรในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลแม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย และนำหินคลุกเททำทางเข้า-ออกพื้นที่ทิ้งเศษวัสดุ หมู่ที่ 10 ต.แม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย

 

ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 8 กำแพงเพชร นำรถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ขนาด 12,000 ลิตร และรถบรรทุกน้ำช่วยดับเพลิง 10,000 ลิตร ร่วมกับ อส. ฉีดล้างทำความสะอาดบริเวณสวนสาธารณะเกาะลอย ตำบลเวียง และศูนย์ประชุมสินค้านานาชาติ GMS ตำบลริมกก อำเภอเมืองชร. จังหวัดเชียงราย

 

ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 9 พิษณุโลก นำรถบรรทุกน้ำดับเพลิงขนาด 10,000 ลิตร จำนวน 2 คัน และรถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ ขนาด 12,000 ลิตร จำนวน 1 คัน แจกจ่ายน้ำให้กับประชาชนหมู่บ้านกิจโพธิ์ทอง/บ้านเมืองงิม ม.4 ต.ริมกก ,บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย ต.สันทราย อ.เมืองชร. จ.เชียงราย

 

ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย สนับสนุนยานพาหนะและเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติภารกิจ ดังนี้

นำรถขุดตักไฮดรอลิค ปรับเส้นทางสัญจร ถนนในพื้นที่บ้านรวมมิตร หมู่ที่ 2 ต.แม่ยาว อ.เมืองชร. จ.เชียงราย

นำรถปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย บรรทุกผ้าห่ม จำนวน 20 กระสอบ 12 กล่อง จากศูนย์รับบริจาค ศปภ. เขต 15 เชียงราย นำส่งให้กาชาดจังหวัดเชียงราย เพื่อมอบให้ผู้ประสบภัยต่อไป

 

นำรถบรรทุกน้ำช่วยดับเพลิงขนาด 10,000 ลิตร ไปฉีดล้างทำความสะอาดในบริเวณอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

นำรถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ขนาด 12,000 ลิตรไปฉีดล้างทำความสะอาดบริเวณหน้าด่านพรมแดนแม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย

 

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดเชียงราย บรรเทาความเดือดร้อนผู้ใช้ไฟฟ้าที่ประสบภัยน้ำท่วม ตามมาตรการ “PEA บรรเทาความเดือดร้อนผู้ใช้ไฟฟ้าที่ประสบภัยน้ำท่วม ในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคะวันออกเฉียงเหนือ” ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 24 กันยายน 2567 เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ที่อยู่ในพื้นที่ที่หน่วยงานราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากอุทกภัย สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม 2567 เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและลดภาระค่าไฟฟ้าให้กับผู้ประสบภัย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ไม่เรียกเก็บค่าไฟฟ้า เดือนกันยายน 2567 กรณีชำระแล้ว PEA จะดำเนินการคืนเงินโดยนำไปหักลดจากค่าไฟฟ้าเดือนถัด ๆ ไป ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าร้อยละ 30 ก่อนคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ในเดือนตุลาคม 2567

 

ศูนย์พักพิง ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ วันที่ 8 ต.ค. 67 รวมทั้งสิ้น 5 แห่ง

แบ่งตามขอบเขตการปกครอง ได้แก่ อ.แม่สาย 3 แห่ง/ อ.เวียงป่าเป้า 1 แห่ง/ วันที่ 2 ต.ค. 67 อ.เมืองเชียงราย 1 แห่ง

ศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ ทั้งหมด 4 แห่งรายละเอียดดังนี้

 

อำเภอแม่สาย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน 3 แห่ง รวมทั้งสิ้น 173 คน (โดยเป็นศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการ ทั้ง 3 แห่ง) ดังนี้ ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลแม่สาย* คงค้างจำนวน 87 ราย  ศูนย์พักพิงวัดเหมืองแดง* คงค้างจำนวน 50 ราย ศูนย์พักพิงวัดถ้ำผาจม* คงค้างจำนวน 36 ราย

อำเภอเวียงป่าเป้า ศูนย์พักพิง อบต.บ้านโป่ง จำนวน 1  แห่ง  คงค้างจำนวน 26 คน

อำเภอเมืองเชียงราย วันที่ 2 ต.ค. 67 องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เปิดศูนย์อพยพ/พักพิง (ชั่วคราว) ณ อาคารเรียน 10 โรงเรียน อบจ. เชียงราย (ด้านหลังรูปปั้นบัวบาน ผามั่ง)

 

มูลนิธิสมาคมกู้ชีพกู้ภัย อาสาสมัคร จิตอาสาภาคประชาชน ร้านค้า/ผู้ประกอบการ สนับสนุนปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ให้ที่พักพิงชั่วคราว มอบอาหารปรุงสำเร็จ และถุงยังชีพ

 

วิทยาลัยอาชีวศึกษาและโรงเรียนในเครือ ดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix It Center

ตั้งจุดบริการและจัดชุดเคลื่อนที่ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยจะช่วยซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงยานพาหนะที่เสียหาย เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. เป็นต้นมา

 

ศูนย์ซ่อมสร้าง Fix it Center ถาวร ซ่อมฟรี เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ ที่เสียหายจากเหตุอุทกภัย จำนวน 3 แห่ง ดังนี้ ภายในวิทยาลัยเทคนิคเชียงราย อ.เมืองชร. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย อ.เมืองชร. จุดบริการบ้านเวียงกือนา หมู่ที่ 2 ต.ริมกก อ.เมืองชร.

 

ช่างซ่อมจิตอาสา ช่างซ่อมจิตอาสาจังหวัดสมุทรปราการ นำโดยช่างเต้ วัดด่าน ตั้งศูนย์ช่วยซ่อมจักรยานยนต์ที่โดนน้ำท่วม ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ระหว่างวันที่ 3 – 15 ต.ค. 2567 ณ ศูนย์การเรียนรู้ อบจ.เชียงราย สี่แยกศูนย์ราชการ

 

นายอภิวัฒน์ เรืองโรจ และนายสุวิทย์ ขวัญแก้ว สองพี่น้องใจบุญ ที่ขับรถจักรยานยนต์มาจากกรุงเทพมหานครเพื่อช่วยซ่อมรถให้ชาวเชียงรายฟรี โดยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดเหตุอุทกภัย และตั้งใจอยู่ช่วยต่อจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ณ จุดรับซ่อมบริเวณหน้าศูนย์ยามาฮ่าสามแยกทางเข้าวัดฝั่งหมิ่น พิกัด : https://maps.app.goo.gl/fR3Y8Jt11D9BtMGVA

 

วันที่ 17 ก.ย. 67 ทภ.3 จัดตั้ง ศบภ.ทภ.3 ส่วนหน้า ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย เพื่ออำนวยการประสานงานการให้ความช่วยเหลือประชาชนของหน่วยทหารทุกหน่วย ในพื้นที่ อ.แม่สาย จนถึงปัจจุบัน

 

กองบัญชาการกองทัพไทย จัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบัญชาการกองทัพไทย ณ โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย

 

อบจ.เชียงราย ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม  ด้านดำรงชีพ ดังนี้ ค่าใช้จ่ายด้านดำรงชีพ ได้แก่ค่าเครื่องนุ่งห่ม รายละไม่เกิน 1,100 บาท ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 11,400 บาท ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 3,500 บาทค่าเครื่องนอน รายละไม่เกิน 1,000 บาท หลักฐานที่ต้องเตรียม ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของเจ้าของบ้านที่ประสบภัย รูปภาพความเสียหาย กรณีผู้เช่า แนบเอกสารสัญญาเช่า การขอรับความช่วยเหลือ ผ่าน อบต. หรือ ทต. ที่ประสบภัย ในวันและเวลาราชการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบจ.เชียงราย ฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย โทร. 053175329 หรือ 053175333 ต่อ 1402 ในวันและเวลาราชการ ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 17 – 30 ก.ย. 2567 ขยายเวลาถึงวันที่ 15 ต.ค.67

 

การปฏิบัติงานฟื้นฟูบูรณะ และกู้คืนพื้นที่ของจิตอาสาราชทัณฑ์ (จอส.รท.) และเจ้าหน้าที่สังกัดกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ประจำวันที่ 8 ต.ค. 67

 

เวลา 08.30 น. เจ้าหน้าที่เรือนจำกลางเชียงรายและกำลังสนับสนุนจากเรือนจำ/ทัณฑสถาน เขต 5 (รจจ.ลำพูน, รจจ.พะเยา ,ทสบ.ลำปาง ,รจอ.แม่สะเรียง, รจก.ลำปางและ รจจ.ฝาง) จำนวน 16 นาย นำผู้ต้องขัง จำนวน 78 คน ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์(ในรูปแบบ CSR) บรรเทาภัยน้ำท่วมพื้นที่จังหวัดเชียงราย ดังนี้ 

 

ภารกิจภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ปรับภูมิทัศน์ ขนย้ายสิ่งของ ล้างทำความสะอาดสิ่งของเปื้อนโคลน บ้านเรือนประชาชนหลังน้ำลด จำนวน  8 จุด ภารกิจดำเนินการก่อสร้างบ้านน็อคดาวน์ จำนวน 6 หลัง บ้านเมืองงิม หมู่ที่ 4 ต.ริมกก จำนวน 1 หลัง บ้านจะเด้อ หมู่ที่ 6 ต.ดอยฮาง จำนวน 1 หลัง บ้านรวมมิตร หมู่ที่ 2 ต.แม่ยาว  จำนวน 2 หลัง บ้านแควัวดำ หมู่ที่ 12 ต.แม่ยาว จำนวน 2 หลัง

 

ปฏิบัติการดูดโคลนเลนที่อุดตันบริเวณท่อระบายน้ำ ตามตรอก ถนน และจุดต่าง ๆ ที่กีดขวางทางระบายน้ำพื้นที่ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่ในเขตพื้นที่เทศบาลนครเชียงราย ประจำวันที่ 9 ต.ค. 67 อบจ.สมุทรปราการ รถดูดโคลน 2 คัน ปฏิบัติงาน ต.แม่สาย อ.แม่สาย คันที่ 1 ปฏิบัติงานบริเวณโรงเรียนไม้ลุงขนฯ ต.แม่สาย อ.แม่สาย ปริมาณดินโคลนที่ดูดได้ 72 ลูกบาศก์เมตร คันที่ 2 ปฏิบัติงานบริเวณเหมืองแดงใต้ ซอย 5  ปริมาณดินโคลนที่ดูดได้ 2 ลูกบาศก์เมตร

เทศบาลตำบลบางปู ปฏิบัติงานบริเวณหมู่บ้านธนารักษ์ กองทัพบก เส้นเมนระยะทางที่ลอก 360 เมตร ขนาดท่อ 80 ซม. และ 60 ซม. ปริมาณดินโคลนที่ดูดได้ 80 ลูกบาศก์เมตร

 

เทศบาลตำบลบางเมือง ดูดโคลนเลน ซอย 8/1 แมนชั่น และซอย ซอย 8/2  จำนวน 9 รอบ รวม 72,000 ลิตร

ทีมจังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย ทม.ท่าโขลง และ ทม.ลาดสวาย ดำเนินการล้างถนน 5 วอย ระยะทาง 1,200 เมตร

ชุดปฏิบัติการดูดโคลนกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติงานบริเวณโรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย

ในวันที่ 9 ต.ค.67 เวลา 18.00 น. ดำเนินการจนกว่าจะแล้วเสร็จ

 

บริษัท วอชแอนด์โก Code Clean ให้บริการ ซัก อบ ผ้า น้ำยา ฟรี แก่ผู้ได้รับผลกระทบน้ำท่วม ตลอด 24 ชั่วโมง และเปิดให้บริการจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ จำนวน 3 จุด ได้แก่ ณ ลานธรรม ลานศิลป์ ถิ่นพญามังราย หรือลานรัชกาลที่ 5 (ศาลากลางจังหวัดหลังแรก) ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย. 67 เป็นต้นมา ถึงปัจจุบัน ณ สถานีดับเพลิงเทศบาลนครเชียงราย หน้าวัดดงหนองเป็ด ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย. 67 เป็นต้นมา ถึงปัจจุบัน หน้ามูลนิธิสยามเชียงราย สำนักงานใหญ่ จุด 5 แยก พ่อขุนฯ ตั้งแต่วันที่ 24 ก.ย. 67 เป็นต้นมา ถึงปัจจุบัน

 

งานบริการถ่ายบัตรประชาชน : กรมการปกครอง โดยส่วนบัตรประจำตัวประชาชน ศูนย์บริหารการทะเบียนภาค และอำเภอแม่สาย ขยายระยะเวลางานบริการถ่ายบัตรประชาชน จากเดิมตั้งแต่วันที่ 19 – 30 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 17.00 น. ขยายระยะเวลาออกไปตั้งแต่วันที่ 1 – 31 ตุลาคม 2567 ในวันและเวลาราชการ ณ สำนักงานเทศบาลตำบลแม่สาย ชั้น 2 งานทะเบียนราษฎร์

 

วันที่ 9 ต.ค. 67 นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และพลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พบปะให้กำลังใจมอบถุงยังชีพบรรจุเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 80 ชุด และอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านเรือน แก่ เครือข่าย OTOP ที่ประสบภัยน้ำท่วม พร้อมทั้งร่วมประกอบอาหารเพื่อแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัย ทหาร และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนที่มาช่วยฟื้นฟูพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยมี นายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายดำรงค์ศักดิ์ ยอดทองดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมมอบฯ

 

วันที่ 8 – 9 ต.ค. 67 สภากาชาดไทย โดยสำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด จัดโครงการอาสาสมัครกาชาด อาสาสาด้วยใจร่วมฟื้นฟูภัยพิบัติ จังหวัดเชียงราย โดยมีอาสาสมัครกาชาด อาสายุวกาชาด คณะผู้บริหาร ครูในจังหวัดเชียงราย สกร.ระดับอำเภอจาก 18 อำเภอ กลุ่มไฟฟ้าจิตอาสา และสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดพะเยา กว่า 300 คน เข้าร่วม ณ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดเชียงราย อ.เมืองเชียงราย ซึ่งได้เร่งฟื้นฟูพื้นที่การเรียนรู้ของชุมชน ขนย้ายสิ่งของ ล้างทำความสะอาด รวมถึงซ่อมระบบไฟฟ้า ณ อาคารศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอเมืองเชียงราย เพื่อคืนพื้นที่การเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชน ได้ทันช่วงเวลาที่จะเปิดภาคเรียน และประชาชนที่จะได้เข้ามาใช้บริการต่อไป

 

วันที่ 9 ต.ค. 67 นายธเนศ โกมลธง รองนายกเทศมนตรีนครเชียงราย คณะผู้บริหาร สท. พี่น้องชุมชนร่องเสือเต้น ชุมชนฝั่งหมิ่น ปลัดเทศบาลนครเชียงรายร่วมกับ พ.ต.ท. มณฑล พสิษฐ์มณฑล รองผกก.ฝอ.ภ.จว.เชียงราย เจ้าหน้าที่ตำรวจพิสูจน์หลักฐาน ตำรวจท่องเที่ยว ตำรวจภูธรเมืองเชียงราย ตำรวจตระเวนชายแดนกองร้อย 327 กองร้อยอาสารักษาดินแดน จาก 37 จังหวัด ร่วมกันฟื้นฟูสวนสาธารณะริมกก(ชุมชนร่องเสือเต้น ชุมชนฝั่งหมิ่น ชุมชนป่าแดง) ระยะทาง 1.6 กม.

 

วันที่ 7 ต.ค. 67 นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย รับมอบน้ำมันเครื่อง Shell Advance 4T Ax5  สำหรับรถจักรยานยนต์ 4 จังหวะทุกรุ่น จำนวน 3,000 ลิตร  รวมมูลค่า 567,000 บาท จากบริษัท เติมสุขออยล์ จำกัด โดยคุณสาริกา มัลโฮตรา ตัวแทนของบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ประสบอุทกภัยที่รถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในพื้นที่เมืองเชียงราย

วันที่ 9 ต.ค. 67 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เก็บขนวัสดุดินโคลน ฉีดล้างพื้นที่ ปรับปรุงภูมิทัศน์ ตัดแต่งกิ่งไม้ เก็บขนออกจากพื้นที่ และบำรุงรักษาต้นไม้ตามหลักรุกขวิทยา ณ สวนสาธารณะพรหมราช(สวนสุขภาพ) ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย พื้นที่ดำเนินการประมาณ 20 ไร่ อัตรากำลัง ทั้งสิ้น จำนวน 125 นาย ประกอบด้วย สบอ.15 ชร. จำนวน 60 นาย สจป.ที่ 2 เชียงราย จำนวน 40 นาย ทสจ.ชร. จำนวน 25 นาย ดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมด 20 ไร่ (100%)

 

วันที่ 9 ต.ค. 67 เวลา 12.00 น. ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย นายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน คณะผู้บริหาร คณะกรรมการเครือข่าย OTOP ระดับประเทศ  ลงพื้นที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพื่อส่งมอบกำลังใจให้กับผู้ประสบภัยและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน พร้อมพบปะพูดคุยให้กำลังใจ และเยี่ยมบ้านผู้ประสบภัย สนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ในการทำความสะอาดอาคารบ้านเรือน และมอบถุงยังชีพ เพื่อช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ผู้ที่ได้รับความเดือนร้อนจากอุทกภัย และช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่

 

โรงครัวลุงอู๊ดอีจัน “เพจอีจัน” โรงครัวช่วยผู้ประสบภัย ทีมตอบโต้ภัยพิบัติ “มูลนิธิเพชรเกษม”

ตั้งโรงครัว ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย ตั้งตั้งแต่วันที่ 10 ก.ย. – 8 ต.ค. 67 เป็นระยะเวลา 29 วัน ผลิตข้าวกล่องประกอบเลี้ยงผู้ประสบภัย เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและจิตอาสา จำนวนทั้งสิ้น  261,076 กล่อง

 

แนวโน้มสถานการณ์ คาดหมายลักษณะอากาศ (24 ชั่วโมงข้างหน้า) : บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีกำลังอ่อนลงแต่ยังคงทำให้ภาคเหนือตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ในขณะที่มีลมฝ่ายตะวันออกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและจังหวัดเชียงรายฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางแห่ง รายละเอียดดังนี้ พื้นที่ฝนเล็กน้อย จำนวน 6 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย/ แม่สรวย/ แม่ลาว/ เวียงป่าเป้า /เทิง และเวียงแก่น

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME