โดย น.ส.กมลทิพย์ สุวรรณเดช นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า สำหรับแนวทางในการพิจารณาเลือกสมุนไพรอัตลักษณ์จังหวัด กำหนดให้แต่ละจังหวัดที่รู้ข้อมูลพื้นที่ตัวเองดี คัดเลือกสมุนไพรที่มีค่า มีการพบมาก เป็นพืชเศรษฐกิจ หรือหายาก มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ อนุกรรมการฯก็จะมาพิจารณาเลือกแล้วให้ข้อมูลทางด้านสารสำคัญ งานวิจัยเข้าไป
อย่างเช่น หัวร้อยรูเป็นสมุนไพรหายากของตรังและใช้ทางยารักษาโรคมะเร็ง มีเฉพาะในธรรมชาติเท่านั้น มีการปลูกที่ยากมาก จึงให้หัวร้อยรูเป็นสมุนไพรอัตลักษณ์ของตรัง ก็มีแผนว่าจะทำอย่างไรให้ลดการเก็บจากธรรมชาติแล้วหันมาส่งเสริมการปลูกทดแทนในธรรมชาติ
สมุนไพอัตลักษณ์จังหวัดภาคเหนือ
สมุนไพรอัตลักษณ์จังหวัดภาคกลาง
สมุนไพรอัตลักษณ์ภาคใต้
สมุนไพรอัตลักษณ์จังหวัดภาคตะวันตก
สมุนไพรอัตลักษณ์จังหวัดภาคตะวันออก
น.ส.กมลทิพย์ กล่าวด้วยว่า สมุนไพรอัตลักษณ์จังหวัดอาจจะมีซ้ำกันได้ เช่น ขมิ้นชัน มีสุราษฎร์ธานีกับตาก ซึ่งมีความแตกต่างกัน โดยที่สุราษฎร์ธานีจะมีสารเคอร์คูมินอยด์สูง แต่ตากจะมีส่วนของน้ำมันหอมระเหยที่สูง บางจังหวัดก็มี 2 ชนิด เช่น ตรังมีหัวร้อยรูและพริกไทย ซึ่งพริกไทยของตรังมีคุณภาพดีมาก พอๆ กับของจันทบุรี แหล่งพริกไทยสำคัญและใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอก็ให้พริกไทยทั้งที่ตรังและจันทบุรี
การส่งเสริมต่อยอดสมุนไพรอัตลักษณ์จังหวัด น.ส.กมลทิพย์ กล่าวว่า เมื่อได้ครบแล้ว แต่ละจังหวัดจะกำหนดแผนในการผลิตสมุนไพรชนิดนั้นๆ ให้ได้ตามมาตรฐานของการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีให้ได้วัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพ สามารถส่งเสริมในการผลิตยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่างๆ ที่จะใช้ใน รพ.หรือจำหน่ายให้แก่ประชาชน
โดยการใช้วัตถุดิบสมุนไพรอัตลักษณ์จังหวัดนั้น เช่น ขิง เพชรบูรณ์ประกาศว่าคุณภาพดีที่สุด ผู้ประกอบการก็ไปที่เพชรบูรณ์ก็จะได้ขิงที่มีคุณภาพดีที่สุด เป็นต้น นอกจากนี้ จะเข้าไปช่วยส่งเสริมในเรื่องของผลิตภัณฑ์หรือสินค้า OTOP ของดีประจำจังหวัดด้วย
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ตามแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 – 2570 กำหนดค่าเป้าหมาย ขนาดตลาดวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศไทย
และร้อยละความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain)อุตสาหกรรมสมุนไพรไทย ในปี 2570เพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 20 จากปี 2565
ซึ่งผลจากการพัฒนา 15 เมืองสมุนไพรอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560-2566 เกิดรายได้สะสมจากการขายผลิตภัณฑ์ และบริการที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร รวม 11,783 ล้านบาท แยกเป็น 3 คลัสเตอร์
1.ด้านเกษตรและวัตถุดิบสมุนไพร ได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ สุรินทร์มหาสารคาม อุทัยธานี สกลนคร และ สระแก้ว สร้างรายได้ระดับพื้นที่สะสม 1,837 ล้านบาท
2.ด้านอุตสาหกรรมสมุนไพร ได้แก่ จังหวัดนครปฐม สระบุรี ปราจีนบุรี และจันทบุรี สร้างรายได้ระดับพื้นที่สะสม 3,720 ล้านบาท
3.ด้านท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงามและการแพทย์แผนไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พิษณุโลก อุดรธานี สุราษฎร์ธานี และ สงขลา สร้างรายได้ระดับพื้นที่สะสม 6,226 ล้านบาท
เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กรมการแพทย์แผนไทยฯ
Copyright © 2023 by G Good Media Co., LTD. & Nakhon Chiang Rai News. All Rights Reserved.