Categories
SOCIETY & POLITICS

พม. ดึงเครือข่าย หนุนสร้างสุข ทุกพื้นที่ปลอดภัย

 

เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 66 ที่ผ่านมา เวลา 13.30 น. นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เป็นประธานเปิดการประชุมสมัชชาครอบครัวระดับชาติ ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิดหลัก “สานพลังสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อครอบครัว : สร้างสุข ทุกพื้นที่ปลอดภัย” โดยมี นางจินตนา จันทร์บำรุง อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กล่าวรายงาน ซึ่งมีวัตุถุประสงค์เพื่อผนึกกำลังความร่วมมือในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านครอบครัว  ด้วยการบูรณาการเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นกลไกทางสังคมในทุกพื้นที่ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อครอบครัว และพร้อมสำหรับการขับเคลื่อนแผนขับเคลื่อนมติสมัชชาครอบครัวระดับชาติ ประจำปี 2565 ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2566 – 2568) นอกจากนี้ มีพิธีมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณองค์กรและสื่อสร้างสรรค์ที่สนับสนุนการขับเคลื่อนสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อครอบครัว 34 รางวัล แบ่งเป็น 1) องค์กรที่สนับสนุนการขับเคลื่อนสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อครอบครัว 12 รางวัล 2) องค์กรไร้ความรุนแรง 20 รางวัล และ 3) สื่อสร้างสรรค์ด้านครอบครัว 2 รางวัล ณ ห้องกษัตริย์ศึก โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร


นายอนุกูล กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้กำหนดจัดสมัชชาครอบครัวระดับชาติ ประจำปี 2566 สืบเนื่องจากข้อเสนอการต่อยอดฉันทามติในการประชุมสมัชชาครอบครัวระดับชาติ ประจำปี 2565 ซึ่งพัฒนาไปสู่การจัดทำแผนขับเคลื่อนมติสมัชชาครอบครัวระดับชาติ ประจำปี 2565 ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2566 – 2568) ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการบูรณาการขับเคลื่อนเชิงระบบ (ขาเคลื่อน) ที่มุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรทุกภาคส่วน เพื่อเป็นกรอบทิศทางให้ภาคีเครือข่ายนำไปใช้ในการบริหารจัดการส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว จนเกิดสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อครอบครัวในทุกพื้นที่ และนำมาซึ่งประเด็นหลักในการจัดงานคือ “สานพลังสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อครอบครัว : สร้างสุข ทุกพื้นที่ปลอดภัย” โดยมีประเด็นย่อย 4 ประเด็น ได้แก่ 1) มิติส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว 2) มิติสนับสนุนการช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว 3) มิติพัฒนาศักยภาพกลไกด้านครอบครัว และ 4) มิติพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เอื้อต่อครอบครัว


นายอนุกูล กล่าวต่อไปว่า สถานการณ์โลกในปัจจุบัน รวมถึงประเทศไทย ทำให้สถาบันครอบครัวถูกท้าทาย อาทิ อัตราการหย่าร้างและเด็กอาศัยอยู่กับผู้สูงอายุเพียงลำพังเพิ่มสูงขึ้น  เป็นต้น อีกทั้งสภาพแวดล้อมอื่นๆ ส่งผลกระทบต่อสถาบันครอบครัวเกิดวิกฤติ ซึ่งงานประชุมสมัชชาครอบครัวระดับชาติครั้งนี้ ถือว่าเป็นวาระที่ต้องสานพลังครอบครัว เพื่อให้สถาบันครอบครัวได้รับการฟื้นฟู และสานพลังของทุกภาคีเครือข่าย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสถาบันครอบครัวยังอยู่คู่กับสังคมไทย และเข้มแข็งตลอดไป ทั้งนี้ ข้อเสนอสมัชชาฯ ที่ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2565 ในมิติต่างๆ เกี่ยวกับครอบครัว จะมีการเสนอต่อรัฐบาล และภาคีเครือข่าย เพื่อนำไปขับเคลื่อนการทำพื้นที่ปลอดภัยสำหรับครอบครัวให้เกิดขึ้นจริง


นายอนุกูล กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ งานประชุมสมัชชาฯ ครั้งนี้ ยังมีการเสวนา “ต่างคิด แชร์ไอเดีย สร้างสุข ทุกพื้นที่ปลอดภัย” โดย 1) นางจินตนา จันทร์บำรุง อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว 2) นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 3) นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว และ 4) นางสาวชลธิดา ยาโนยะ ผู้ประพันธ์ นวนิยาย “มาตาลดา” 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก :กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
FEATURED NEWS

ก.อุตฯ ชงมาตรการใหม่ สนับสนุนเงิน ช่วยเหลือเกษตรกรที่ไม่เผาอ้อย

 

ปลัดฯ อุตสาหกรรม เผยห่วงประชาชนกว่า 44 ล้านคน ที่เดือดร้อนต้องสูดควันพิษ PM 2.5 จากการเผาไร่อ้อยนานกว่า 6 เดือนในทุกปี ล่าสุดเปิดมาตรการใหม่ in cash & in kind ช่วยเกษตรกรส่วนใหญ่ที่ไม่เผาอ้อย ผ่านการให้เงินช่วยเหลือรูปแบบใหม่ พร้อมสนับสนุนเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมบริหารจัดการไร่อ้อย ย้ำทุกหน่วยงานบังคับใช้และกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย

ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นเกษตรอุตสาหกรรมที่มีกฎหมายและมีหน่วยงานกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการตามแผนของรัฐบาลในการจัดการกับฝุ่นพิษ PM 2.5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง PM 2.5 โดยหนึ่งในสาเหตุหลักมีแหล่งที่มาจากฝุ่นควันของการเผาไร่อ้อย ซึ่งนอกจากจะเป็นการกระทำผิดและฝ่าฝืนกฎหมายแล้ว ยังเป็นการเอารัดเอาเปรียบส่วนรวม และเป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เนื่องจากการเผาไร่อ้อยก่อมลพิษฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณสูงมาก สามารถคงค้างอยู่ในบรรยากาศเป็นระยะเวลายาวนานและแผ่ขยายได้ตามทิศทางลม จึงปกคลุมหนาแน่นทั่วพื้นที่ในบริเวณที่มีประชนชนอาศัยอยู่ถึงกว่า 44 ล้านคน ทั้งในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะเวลาถึงประมาณ 6 เดือนของทุกปี ซึ่งเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงและส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพประชาชนผู้หายใจอากาศที่มีฝุ่นควันพิษ PM 2.5 ที่เกิดจากการลักลอบเผาอ้อยเหล่านี้เข้าไป

จากข้อมูลสถิติการลักลอบเผาอ้อย พบว่า ฤดูการผลิตปี 2563/2564 มีอ้อยที่ถูกลักลอบเผาสูงถึง 17.61 ล้านตัน จากปริมาณอ้อยเข้าหีบ 66.66 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 26.42 ฤดูการผลิตปี 2564/2565 มีอ้อยที่ถูกลักลอบเผาสูงถึง 25.12 ล้านตัน จากปริมาณอ้อยเข้าหีบ 92.07 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 27.28 และฤดูการผลิตปี 2565/2566 พบว่ามีอ้อยที่ถูกลักลอบเผาสูงถึง 30.78 ล้านตัน จากปริมาณอ้อยเข้าหีบ 93.89 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 32.78 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นพื้นที่ที่เกิดการลักลอบเผาประมาณ 3.08 ล้านไร่ สะท้อนให้เห็นว่า ใน 2 ฤดูการผลิตที่ผ่านมา มาตรการสนับสนุนเงินช่วยเหลือในลักษณะการให้เงินแบบเดิมในอัตรา 120 บาทต่อตันอ้อย ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 จำนวนเงินรวม 14,384.79 ล้านบาท ควบคู่กับมาตรการป้องปรามของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ยังมีประสิทธิภาพโดยรวมไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาให้อ้อยถูกเผาหมดไปตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล ดังนั้น จึงต้องทบทวนมาตรการและกลไกการบูรณาการในการจัดการกับปัญหาการเผาไร่อ้อย ทั้งในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด พร้อมกับการออกแบบมาตรการส่งเสริมรูปแบบใหม่ เพื่อให้ชาวไร่และผู้ตัดอ้อยดำเนินการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการและการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่กระทบต่อสิทธิของประชาชนกว่า 44 ล้านคน ในการเข้าถึงอากาศไร้ฝุ่นพิษจากการเผาอ้อยในช่วง 6 เดือน ของทุก ๆ ปี

“เพื่อเป็นการกำกับควบคู่ไปกับการจูงใจ สนับสนุน และส่งเสริมชาวไร่อ้อยที่ไม่กระทำผิดกฎหมาย โดยไม่เผาไร่อ้อยของตนหรือของผู้อื่น เพื่อไม่สร้างปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ซึ่งสอดคล้องตามเป้าหมายรัฐบาลที่กำหนด จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินมาตรการอย่างบูรณาการ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้เน้นย้ำความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบด้านการกำกับดูแลให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขอความร่วมมือให้กระทรวงมหาดไทยทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ถึงความพยายามร่วมกันของรัฐบาล ทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่จะแก้ปัญหาฝุ่นพิษจากการเผาอ้อยให้เร็วที่สุด นอกจากนี้ กระทรวงฯ อยู่ระหว่างการเสนอให้มีการกำหนดแนวทางการสนับสนุนส่งเสริมในรูปแบบใหม่ที่ตรงประเด็นและมีประสิทธิภาพอย่างครบวงจรให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ปฏิบัติตามกฎหมาย (คือ ชาวไร่ที่มิได้ลักลอบเผาไร่อ้อยของตนเองหรือไร่อ้อยของผู้อื่นตลอดช่วงฤดูการผลิตปี 2565/2566) ให้ได้รับการสนับสนุน ทั้งในรูปแบบที่ให้เป็นตัวเงิน (in cash) แก่ชาวไร่อ้อย และในรูปแบบที่ให้เป็นระบบการบริหารจัดการไร่อ้อยและการตัดอ้อยด้วยเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรม (in kind) ภายใต้วงเงินที่เหมาะสมและไม่เป็นภาระงบประมาณเกินความจำเป็น เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ของรัฐในการจัดการกับปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 อย่างยั่งยืน และมิให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายสร้างปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ต่อพี่น้องประชาชนกว่า 44 ล้านคน ต่อไป” ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวทิ้งท้าย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงอุตสาหกรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News