Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

มทบ.37 จัดโครงการ “หนึ่งมื้อกินเจ หมื่นชีวิตรอดตาย”

 

เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 66 เวลา 11.30 พล.ต. บุญญฤทธิ์ เกษตรเวทิน ผอ.ศอ.จอส.พระราชทาน มทบ.37 พร้อมด้วย กำลังพลจิตอาสา มทบ.37 ร่วมกับ พระไพศาลประชาทร วิ. (พระอาจารย์พบโชค) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง แจกจ่ายอาหารเจ ให้กับประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการ “หนึ่งมื้อกินเจ หมื่นชีวิตรอดตาย” ในเทศกาลกินเจ 2566 ซึ่งการปฏิบัติ มทบ.37 ได้สนับสนุนพื้นที่ บริเวณค่ายเม็งรายมหาราช พร้อมกำลังพลจิตอาสา พร้อมอุปกรณ์ สำหรับประกอบอาหาร, สนับสนุนเจ้าหน้าที่ สห. อำนวยความสะดวกด้านการจราจร ในพื้นที่ดำเนินโครงการฯ, การจัดเตรียมถุงอาหารเจสำเร็จสำหรับห่อกลับบ้าน, การจัดพื้นที่อำนวยความสะดวกเพื่อแจกอาหารเจฟรี ตลอดจนเป็นสถานที่รับประทานอาหารสำหรับประชาชนโดยทั่วไปที่มาร่วมงานเทศกาลฯ ตั้งแต่วันที่ 15 – 23 ต.ค. 66 เวลา 09.00 – 17.00 น. ณ บริเวณพื้นที่สถานี สห. มทบ.37 ค่ายเม็งรายมหาราช อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

‘พิสันต์’ นำเจ้าหน้าที่ถวายวัตถุดิบโรงทาน วัดห้วยปลากั้ง “พบโชค พบบุญ”

 

     นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นางพรทิวา ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม ข้าราชการและบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมมอบถวายผักและวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารเจเพื่อแจกจ่ายให้พุทธศาสนิกชนและประชาชนช่วงเทศกาลกินเจ ในวันพุธที่ 18 ตุลาคม 2566 เวลา 11.00 น. ณ โรงทานวัดห้วยปลากั้ง “พบโชค พบบุญ” พระไพศาลประชาทร วิ. (พบโชค ติสฺสวํโส) บริเวณสามแยกดอยทอง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

 

     จัดโดย วัดห้วยปลากั้ง ร่วมกับ มณฑลทหารบกที่ 37 เพื่อแจกจ่าย บริการอาหารเจให้แก่พุทธศาสนิกชนและประชาชนช่วงของเทศกาลกินเจ หรือ ประเพณีถือศีลกินผัก ในปีพุทธศักราช 2566 เทศกาลกินเจจะตรงกับวันที่ 15 – 23 ตุลาคม 2566 ซึ่งการบริโภคอาหารประเภทผักที่ไม่มีของสดของคาวผสม กำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี รวม 9 วัน โดยในปีนี้จะตรงกับเดือนตุลาคมของไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ

 

  1. กินเพื่อสุขภาพ อาหารเจเป็นอาหารประเภทชีวจิต เมื่อกินติดต่อกันไปช่วงเวลาหนึ่งจะทำให้ร่างกายเกิดการปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล สามารถขับพิษของเสียต่างๆ ออกจากร่างกายได้ ปรับระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินอาหารให้มีเสถียรภาพ
  2. กินด้วยจิตเมตตา เนื่องจากอาหารที่เรากินอยู่ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยเลือดเนื้อของสรรพสัตว์ ผู้มีจิตเมตตา มีคุณธรรมและมีจิตสำนึกอันดีงามย่อมไม่อาจกินเลือดเนื้อของสัตว์เหล่านั้นซึ่งมีเลือดเนื้อ จิตใจและที่สำคัญมีความรักตัวกลัวตายเช่นเดียวกับคนเรา
  3. กินเพื่อเว้นกรรม ผู้ที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งย่อมตระหนักว่าการกินซึ่งอาศัยการฆ่าเพื่อเอาเลือดเนื้อผู้อื่นมาเป็นของเราเป็นการสร้างกรรม แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ลงมือฆ่าเองก็ตาม การซื้อจากผู้อื่นก็เหมือนกับการจ้างฆ่าเพราะถ้าไม่มีคนกินก็ไม่มีคนฆ่ามาขาย (ถ้าไม่ฆ่าไม่ขายก็ไม่มีคนกิน) กรรมที่สร้างนี้จะติดตามสนองเราในไม่ช้าทำให้สุขภาพร่างกายอายุขัยของเราสั้นลงเป็นบ่อเกิดของโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อผู้หยั่งรู้เรื่องกฎแห่งกรรมนี้จึงหยุดกินหยุดฆ่าหันมารับประทานอาหารเจ ซึ่งทำให้ร่างกายเติบโตได้เหมือนกัน โดยไม่เห็นแก่ความอร่อยช่วงเวลาสั้นๆ เพียงแค่อาหารผ่านลิ้นเท่านั้น
  4.  

     สำหรับ “เจ” ในภาษาจีนทางพุทธศาสนานิกายมหายานมีความหมายเดียวกับคำว่า อุโบสถ ดังนั้นการกินเจก็คือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน เหมือนกับที่ชาวพุทธในประเทศไทยที่ถืออุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 โดยไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีลของชาวพุทธนิกายมหายานที่ไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมนำการไม่กินเนื้อสัตว์ไปรวมกันเข้ากับคำว่ากินเจ กลายเป็นการถือศีลกินเจ ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่ากินเจ ฉะนั้นความหมายก็คือคนกินเจมิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ สำหรับการปฏิบัติตนในช่วงเทศกาลกินเจ 9 วัน 9 คืน ผู้ที่ต้องการกินเจอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามประเพณีการกินเจจะต้องปฏิบัติดังนี้

 

  1. รับประทาน “อาหารเจ”
  2. งดอาหารรสจัด ซึ่งหมายถึงอาหารเผ็ด หวานมาก เปรี้ยวมาก เค็มมาก งดผักที่มีกลิ่นฉุนทั้งหลาย แยกภาชนะสำหรับอาหารเจเท่านั้น
  3. รักษาศีลห้า
  4. รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ รักษาอารมณ์ ไม่พูดคำหยาบคาย รวมถึงงดการมีเพศสัมพันธ์ ทำบุญทำทาน ไหว้พระ สวดมนต์
  5. นุ่งขาวห่มขาวตลอดเทศกาลกินเจ และควรแต่งกายชุดขาวเข้าร่วมพิธีกรรมต่าง ๆ ในแต่ละศาลเจ้า
  6.  

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

พัชรนันท์ แก้วจินดา, สุพจน์ ทนทาน : รายงาน

พร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ : ภาพ

อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ในหลวง โปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์เชิญเครื่องสังฆทาน ผ้าไตร และเครื่องไทยธรรมพระราชทานแด่พระสงฆ์ เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญผ้าไตรพร้อมเครื่องสังฆทานพระราชทานไปถวายแด่เจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.ต.สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง (5) เชิญผ้าไตรพร้อมเครื่องสังฆทานพระราชทาน และเครื่องเขียนพระราชทาน ไปถวายแด่ พระไพศาลประชาทร วิ. (พบโชค ติสฺสวํโส) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง ในวันศุกร์ ที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 14.30 น. ณ วัดห้วยปลากั้ง ตำบลแม่ยาว อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

 

พระไพศาลประชาทร วิ. (พบโชค ติสฺสวํโส) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง เป็นประธานในพิธีสงฆ์ และเมตตากล่าวสัมโมทนียกถานายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายบุญธรรม ทองพิจิตร นายอำเภอเมืองเชียงราย หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมพิธีฯ อย่างพร้อมเพรียง

 

ในโอกาสมงคลนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายพิพัฒน์ สุ่มมาตย์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายยุทธนา สุทธิสม นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นายนิติกร ปันแก้ว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นายสานุพงศ์ สันทราย นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และ นายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ ข้าราชการและบุคลากรสำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมพิธี อำนวยความสะดวกแด่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชน ทั้งนี้ การดำเนินงานพิธีฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุผลสำเร็จทุกประการ

 

 

ประวัติ พระไพศาลประชาทร วิ. มีนามเดิมว่า พบโชค มาไพศาลกิจ เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 บ้านตลาดสำรอง ตำบลพังตรุ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี พระคุณท่านได้สมณศักดิ์ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ สำหรับการจัดตั้งวัดได้เริ่มก่อตั้งสำนักสงฆ์ห้วยปลากั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544 และจนกระทั้งเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 พระคุณท่านได้เดินทางมาปฏิบัติธรรมและเริ่มมีการก่อตั้งศาสนวัตถุ เริ่มแต่กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ หอฉัน เจดีย์และเมื่อ วันที่ 24 กรกฎาคม 2552 ทางสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้มีประกาศแต่งตั้งให้เป็นวัดโดยชื่อว่า วัดห้วยปลากั้ง ปัจจุบันวัดห้วยปลากั้งเป็นวัดที่มีศรัทธา จากต่างจังหวัด ต่างประเทศ เข้ามากราบไหว้นมัสการ และปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก ถือเป็นจุดกำเนิดพุทธศาสนาในเชียงรายแห่งหนึ่งที่สำคัญ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย และพระคุณท่านได้จัดสร้างโรงพยาบาลห้วยปลากั้ง ขึ้นเพื่อเป็นโรงพยาบาลเพื่อประชาชน และนอกจากนี้ยังบำเพ็ญประโชยน์ต่อชุมชนด้านสังคมสงเคราะห์อีกด้วย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

ชาวเชียงรายแห่เวียนเทียน วันอาสาฬหบูชาวัดห้วยปลากั้ง แน่นวัด!

ค่ำวันนี้(1 ส.ค.) ที่วัดห้วยปลากั้ง อ.เมืองเชียงราย พระไพศาลประชาทร วิ. (หลวงพ่อพบโชค) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง นำพระสงฆ์ พุทธศาสนิกชน ปฎิบัติธรรมสวดมนต์เย็น นั่งสมาธิ และเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ โดยพบว่ามีประชาชน และนักท่องเที่ยวร่วมพิธีเวียนเทียนจำนวนมาก โดยมาเป็นครอบครัว ทั้งคนหนุ่ม คนสาวมาเวียนเทียนกันจนแน่นวัด วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมจากการตรัสรู้ให้แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ซึ่งเป็นวันแรกที่พระรัตนตรัยเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ครบองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
 
นางปวีณา งามกระบวน ชาวเชียงราย กล่าวว่า ตนเองเดินทางมาพร้อมกับครอบครัว ส่วนตัวยังคงมีความศรัทธา และยึดมั่นในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การมาทำบุญ เวียนเทียน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมกับน้อมนำหลักคำสอนไปปฏิบัติต่อไป
 
การเวียนเทียน ถือเป็นการบูชาพระรัตนตรัยด้วยอามิสบูชาและปฏิบัติบูชา ซึ่งถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลในวันสำคัญทางพุทธศาสนา ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชาและวันอาสาฬหบูชาโดยปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎก ใช้คำว่าเวียนประทักษิณาวัตร คือ การเวียนขวา 3 รอบ เพื่อเป็นเครื่องหมายการแสดงออกถึงการเคารพบูชาต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างสูงสุด โดยก่อนการเวียนเทียนพุทธบริษัท ทั้ง พระภิกษุ สามเณร อุบาสก และอุบาสิกา จะมาพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ
 
จากนั้นประธานสงฆ์จุดเทียนและธูป ตามด้วยประธานฝ่ายฆราวาสและผู้ที่มาร่วมประกอบพิธีเวียนเทียน เสร็จแล้วประนมมือ ถือดอกไม้ธูปเทียนเดินเวียนขวารอบปูชนียสถาน จำนวน 3 รอบ โดยรอบแรกจะเป็นการเจริญภาวนาระลึกถึงพระพุทธคุณ รอบที่สองเจริญภาวนาระลึกถึงพระธรรมคุณ และรอบสามเจริญภาวนาระลึกถึงพระสังฆคุณ ซึ่งขณะเวียนเทียนทุกคนจะต้องอยู่ในอาการที่สำรวมทั้ง กาย วาจา และใจ มีสติอยู่กับตัว ไม่พูดคุยและหยอกล้อกันในขณะที่เวียนเทียน เพราะเป็นการไม่เคารพต่อพระรัตนตรัยและสถานที่ ตลอดจนทำให้ผู้อื่นเกิดความรำคาญหรืออาจเกิดอุบัติเหตุได้ เมื่อเวียนครบ 3 รอบ ทุกคนจะนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปวางและปักบูชาไว้ยังสถานที่ที่จัดเตรียมไว้

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

งานเปิดนิทรรศการเคลื่อนที่”มองสยามตามรอยพระปกเกล้า”

 

เมื่อวันนศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2566 เวลา 09.30 น. ณ ฐานเจ้าแม่กวนอิม วัดห้วยปลากั้ง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นายสมหวัง บุญระยอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดนิทรรศการเคลื่อนที่ “มองสยามตามรอยพระปกเกล้า” โดยมี พระไพศาลประชาทร วิ. เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง กล่าวสัมโมทนียกถา พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนหน่วยงาน ครูจากโรงเรียนต่าง ๆ และผู้สนใจในจังหวัดเชียงรายเข้าร่วมงานเปิดนิทรรศการฯ ดังกล่าว จัดโดย สถาบันพระปกเกล้าร่วมกับวัดห้วยปลากั้ง


นิทรรศการเคลื่อนที่ “มองสยามตามรอยพระปกเกล้า” จัดแสดงระหว่างวันที่ 9 มิถุนายน – 15 กันยายน 2566 เรียนรู้พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นตลอดรัชสมัย อีกทั้งยังได้เรียนรู้เรื่องราวการเสด็จฯ เลียบมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลพายัพจังหวัดเชียงราย และการเสด็จประพาสเมืองเชียงแสนอีกด้วย
 

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นางพรทิวา ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม เข้าร่วมงานเปิดนิทรรศการเคลื่อนที่ “มองสยามตามรอยพระปกเกล้า” ในครั้งนี้
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News