Categories
CULTURE

เชียงราย 3 ปีซ้อน หลังวัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน ถูกเลือกเป็น 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ ปี 66

 

วันที่ 20 ก.ย. 2566 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มุ่งขับเคลื่อนการดำเนินโครงการชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร เน้นใช้ “พลังบวร” เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชน และได้ดำเนินการส่งเสริมพัฒนาชุมชนคุณธรรมฯ ในระดับต่าง ๆ รวมจำนวนกว่า 27,000 ชุมชน ทั่วประเทศ ในปี 2566 นี้ วธ. จึงดำเนินโครงการคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปี 2566 มุ่งเน้นยกระดับชุมชนคุณธรรมฯ สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อคัดเลือกชุมชนคุณธรรมฯ ที่มีศักยภาพ และความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ จำนวน 10 ชุมชน จากชุมชนคุณธรรมฯ ทั่วประเทศ เพื่อประกาศยกย่อง เชิดชูเกียรติ สร้างขวัญกำลังใจแก่ชุมชนและผู้ในการสนับสนุนการขับเคลื่อน พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้าง เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดและขยายผลความสำเร็จไปยังชุมชนที่ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้อยู่ดีมีสุข ดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม ปลุกกระแสการท่องเที่ยววิถีชุมชน สร้างโอกาส สร้างรายได้ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ต่อไป

นายเสริมศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกดังกล่าว อาทิ การมีผู้นำชุมชนเป็นศูนย์กลางบริหารจัดการชุมชนที่ดี สมาชิกมีส่วนร่วมจัดกิจกรรม หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด (สวจ.) มีส่วนร่วมขับเคลื่อน มีอัตลักษณ์ของชุมชนมีความโดดเด่น อาทิ เป็นชุมชนที่มีความเชื่อหรือประวัติศาสตร์ชุมชนเป็นที่น่าสนใจ มีสถานที่ สถาปัตยกรรม หรืออื่นๆ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว มีวัฒนธรรมและประเพณีที่สร้างประสบการณ์ร่วมให้กับนักท่องเที่ยวสนุกสนาน น่าสนใจ สร้างความประทับใจ มีศิลปะการแสดง ผลิตภัณฑ์ชุมชน สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชน มีภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้ที่สามารถถ่ายทอดให้กับคนในชุมชน รวมถึงอาหาร การบริการการท่องเที่ยว มีนักเล่าเรื่อง/ผู้นำทางแนะนำอัตลักษณ์ของชุมชนได้ เส้นทางคมนาคมที่สะดวก ง่ายต่อการเข้าถึง มีรถรับจ้าง รถสาธารณะบริการในชุมชน ตลอดจนที่พัก/โฮมสเตย์มีมาตรฐาน สะอาด สวยงาม เป็นต้น

 

สำหรับผลการคัดเลือกดังกล่าว ปรากฏว่าผลการคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปี 2566 จำนวน 10 ชุมชน ซึ่งเป็นชุมชนที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ และมีผลการดำเนินงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ มีดังนี้

1.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดท่าขนุน ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

2.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านปากน้ำชุมพร ต.ปากน้ำ อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร

3.ชุมชนคุณธรรมฯวัดพระธาตุผาเงา ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

4.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

5.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านฟ้าหยาด ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชัยชนะ จังหวัดยโสธร

6.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดบ้านหงาว ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง

7.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านท่ามะขาม ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

8.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

9.ชุมชนคุณธรรม ฯ บ้านท่าฉลอม ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 10.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านโนนกอก ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

“ขอแสดงความยินดีแก่ 10 ชุมชนทีได้รับรางวัล ถือเป็นชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ ซึ่งทางกระทรวงวัฒนธรรมพร้อมสนับสนุน และจะประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ชุมชนได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ดึงดูดนักท่องเที่ยว ตลอดจนประชาชนเดินทางมาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง และมุ่งหวังให้การท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” จะสามารถสร้างโอกาส สร้างงาน สร้างรายได้ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน” รมว.วธ. กล่าว

ทั้งนี้ จะมีพิธีมอบโล่ ให้แก่ผู้แทน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ปี 2566 และลงพื้นที่เปิดชุมชนที่ได้รับคัดเลือกแต่ละแห่ง ในช่วงปลายปี 2566 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ และเป็นโมเดลต้นแบบขยายไปสู่ชุมชนอื่น ๆ ต่อไป

 

ซึ่งทางเพจ สวท. เชียงราย ได้โพสต์แจ้งข้อมูลว่า จังหวัดเชียงราย คว้า 3 ปีซ้อน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ปี 66 ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ทั้งนี้ ตลอดสามปีที่ผ่านมา จังหวัดเชียงราย ได้รับการพิจารณาให้เป็น สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ต่อเนื่องทั้งสามปี โดย

ปี 2564 ได้แก่ ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย 

ปี 2565 ได้แก่ ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเมืองรวง จังหวัดเชียงราย 

และปี 2566 ล่าสุด ได้แก่ ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ทุกท่านสามารถเที่ยววัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

โดยมีรายละเอียดค่าบริการ
1.มีค่าบริการรถรับส่งท่านละ 30 บาท ขึ้น/ลง
2. แล้วก็บัตรเข้าชมสกายวอล์คท่านละ 40 บาท
เข้าขึ้นชมฟรี! สำหรับ
– ผู้สูงอายุ 80 ปี
– เด็กส่วนสูงไม่เกิน 120 เซนติเมตร
– พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
หมายเหตุ : คุณครูโรงเรียนถ้าจะพานักเรียนมา ทัศนศึกษาให้ทำใบขอมาก่อนล่วงหน้า แล้วก็แต่งกายใสชุด ประจำโรงเรียน
 
ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่โทร 0612081998
เปิดให้เข้าชมสกายวอล์ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ : 07.30 น.
เวลาปิดทำการ : 17.30 น.
 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์ / คนเก็บภาพ แม่สาย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมกะเหรี่ยง “ต่าลือต่าหล่า ปว่าเก่อญอ”

 
เมื่อวันที่ (6 กันยายน 66) นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย รศ.ดร.ไพโรจน์ ด้วงนคร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ร่วมกันเปิดกิจกรรม “ต่าลือต่าหล่า ปว่าเก่อญอ” มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมกะเหรี่ยง จังหวัดเชียงราย ภายใต้โครงการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ประจำปี พ.ศ. 2566 ณ ภายในสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 
 
โดยมี นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นางสาวนันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย ส่วนราชการ ผู้นำและพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยง จากอำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย และอำเภอดอยหลวง เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ในด้านอัตลักษณ์ชาติพันธุ์และวัฒนธรรม การสืบทอด ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม และการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนในพื้นที่หรือนำความต้องการเร่งด่วนในพื้นที่เป็นหลักในการทำงาน สืบทอดภูมิปัญญาด้านพิธีกรรม / ความเชื่อด้านวิถีวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยง ที่ทำให้ป่าไม้ ธรรมชาติ อุดมสมบูรณ์ ไม่มีการทำลาย ไปสู่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป และส่งเสริมให้เยาวชน ประชาชนชาวกะเหรี่ยง ได้เห็นคุณค่าและภูมิใจในวัฒนธรรมอันดีงามของตนเอง โดยการจัดกิจกรรมในการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างเหมาะสม
 
สำหรับการจัดกิจรรมครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 (เชียงราย) สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย) สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าฟ้าหลวง และนายกสมาคมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวชาติพันธุ์จังหวัดเชียงราย โดยภายงานจัดให้มีบูธ ดิสเพลของชุมชน และการสาธิตของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง การจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานและองค์ความรู้ ประกอบด้วย นิทรรศการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม การจัดนิทรรศการผลงานวิชาการประชาสัมพันธ์ 
 
โดย นายปรัชญาณินทร์ วงศ์อทิติกุล อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ประธานแขนงวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย การจัดนิทรรศการเศรษฐกิจสร้างสรรค์กลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยงจังหวัดเชียงราย โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง การเสนาส่งเสริมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง จังหวัดเชียงราย และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

เปิด “กาดไตลื้อ” คึกคัก ด้วยมนต์เสน่ชาวไตลื้อ

 
วันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2566 เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป ณ วัดท่าข้ามศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมกับชุมชนศรีดอนชัยไทลื้อ อำเภอเชียงของ เทศบาลตำบลศรีดอนชัย สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โรงเรียนเชียงของวิทยาคม และเครือข่ายวัฒนธรรม ได้ผนึกความร่วมมือเปิดตลาดวัฒนธรรมชุมชน “กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย” ภายใต้โครงการชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการเริ่มต้น จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้โครงการชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
 
ชุมชนศรีดอนชัยไทลื้อ เป็นพื้นที่ชุมชนและท้องถิ่นที่มีศักยภาพ มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม “ไทลื้อ” ที่เด่นชัด จึงได้มีแนวคิดเปิดพื้นที่ตลาดใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนมีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม กิจกรรมการแสดง บริการ ที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ผ่านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว และเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำมาสู่ความภาคภูมิใจ รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน โดยมุ่งหวังที่จะให้ตลาดวัฒนธรรมชุมชน “กาดไตลื้อ” เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นที่น่าจดจำทั้งชาวเชียงราย ชาวไทยและต่างประเทศ โดยคณะกรรมการฯ ร่วมพัฒนาตลาดวัฒนธรรมชุมชนของเราในนามชื่อ “กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย” กำหนดจัดตลาดทุกวันเสาร์แรกของเดือนนับแต่เดือนกันยายน 2566 นี้เป็นต้นไป
 
กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย ของเรามีแนวคิดในการพัฒนาเป็นตลาดวัฒนธรรม “เสน่ห์ศรีดอนชัยไตลื้อ มนต์ขลัง ที่ยังมีชีวิต” ให้เป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สนใจมาเยือน ดังคำกล่าวของชาวศรีดอนชัยที่ได้กล่าวไว้ว่า “มาศรีดอนชัย เหมือนได้ไปสิบสองปันนา” สำหรับในวันนี้ ถือเป็นปฐมฤกษ์อันดี จึงได้เปิดตัว “กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย” อย่างเป็นทางการ เพื่อให้รับรู้และเป็นที่รู้จักแพร่หลายต่อไปในวงกว้าง กิจกรรมในวันนี้ ประกอบด้วย
 
เวทีเสวนา “เสน่ห์ศรีดอนชัยไตลื้อ มนต์ขลัง ที่ยังมีชีวิต” ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย พระครูสุจิณวรคุณ เจ้าคณะตำบลศรีดอนชัย นายวิรุฬห์ สิทธิวงศ์ นายอำเภอเชียงของ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นางสลักจฤฏดิ์ ติยะไพรัช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย และนายสมชาย วงค์ชัย ประธานคณะกรรมการดำเนินงานชุมชนโครงการชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ ชุมชนศรีดอนชัยไทลื้อ ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมี นายสุตนันท์ จำปาทอง เป็นผู้ดำเนินรายการ https://fb.watch/mPClJt5l6g/
 
พิธีเปิดตัวตลาดวัฒนธรรมชุมชน “กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย” อย่างเป็นทางการ โดยมีนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวเปิด นายสมชาย วงค์ชัย ประธานคณะกรรมการดำเนินงานชุมชนฯ กล่าวรายงาน ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมนายวิรุฬห์ สิทธิวงศ์ นายอำเภอเชียงของ ได้ทำสัญลักษณ์เปิดกาดไตลื้อพร้อมกัน ภายในกาดไตลื้อ มีแสดงศิลปวัฒนธรรม อาทิ การฟ้อนลื้อลายเจิง การตีกลองสะบัดชัย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายสาธิตผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม CPOT อาหารพื้นถิ่น พืชผัก ผลไม้ ของชาวศรีดอนชัย พร้อมนี้พ่อค้าแม่ขาย ผู้ประกอบการ ผู้ร่วมงาน และนักท่องเที่ยว ร่วมกันแต่งกายด้วยชุดไทลื้อ ชุดพื้นถิ่น พร้อมหิ้วตะกร้ามาร่วมกิจกรรมเป็นการสร้างบรรยากาศเสน่ห์ที่ยังมีมนต์ขลังของชาวไทลื้อศรีดอนชัยได้อย่างน่าประทับใจยิ่ง https://fb.watch/mPCljEVJYA/
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจรับชมบรรยากาศย้อนหลัง สามารถติดตามผ่านเพจเฟซบุ๊ค “กาดไตลื้อ”
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

กฤษยา จันแดง, สุพรรณี เตชะตน : รายงาน
ก้อนหินในน้ำ, เชียงของทีวี, หนึ่ง เจ้าขุน : ภาพ
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการ
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

“หมู่บ้านรักษาศีล 5” ประจำหนเหนือ ณ ชุมชนคุณธรรม บ้านเมืองรวง

 
วันอาทิตย์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ วัดท่าไคร้ (บ้านเมืองรวง) ต.แม่กรณ์ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ด้วยคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” จังหวัดเชียงราย ได้คัดเลือก “บ้านเมืองรวง” เป็นหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบของจังหวัดเชียงราย เพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านรักษาศีล ๕” ประจำหนเหนือ โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ หนเหนือ กำหนดลงพื้นที่เพื่อตรวจติดตามผลการดำเนินงาน ในวันพุธที่ ๒๓ สิงหาคม เวลา ๑๓.๐๐ น.
 
ในวันนี้ จึงได้มีการประชุมเตรียมความพร้อมรับการตรวจติดตามคณะกรรมการฯ หนเหนือ โดยพระพุทธิญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย ได้มอบหมายให้พระภาวนาโกศลเถร วิ. รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมฯ พร้อมนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม พระครูขันติพลาธร รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าคณะอำเภอ คณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย นายโสไกร ใจหมั้น ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นายสมาน เทพสุภา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๕ บ้านเมืองรวง ผู้นำท้องที่ และผู้นำชุมชน พร้อมได้มีการตรวจเยี่ยมพื้นที่ในบริเวณบ้านเมืองรวงร่วมกัน
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วย Soft Power ในมิติทางศาสนา

 
ในวันอาทิตย์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องนิทรรศการ ๕ อาคารหอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร กรมการศาสนากระทรวงวัฒนธรรมจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วย Soft Power ในมิติทางศาสนา โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Facebook LIVEกรมการศาสนา)โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหารหรือผู้แทนศูนย์ศึกษา พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์และผู้แทนหน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาของแต่ละจังหวัดเพื่อให้เกิดการบูรณาการการดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ผ่านกลไก “พลังบวร” ซึ่งเป็น Soft Power ที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก สร้างความมั่นคงให้แก่ชุมชน ช่วยสนับสนุนให้เด็กเยาวชนและประชาชนใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนาโดยการน้อมนำและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนทางศาสนาในชีวิตประจำวัน โดยมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้
 
๑. รับชมวีดิทัศน์หน่วยงานภาคีเครือข่ายทางศาสนา
๒. การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ หัวข้อ “การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วย Soft Power ในมิติศาสนา” ดำเนินรายการโดย นายยงจิรายุ อุปเสน ผู้จัดการสำนักส่งเสริมและขับเคลื่อนเครือข่ายทางสังคม ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน ซึ่งมีคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่
๒.๑ พระมหาศรายุทธ อคฺคธมฺโม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีสามัคคีธรรม จังหวัดบึงกาฬ
๒.๒ ผู้แทน ศพอ.วัดพระเชตุพน กรุงเทพฯ
๒.๓ รองศาสตราจารย์ นพดล เนตรดี วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
๒.๔ คุณอัจฉรา แสงจันทร์ ชุมชนคุณธรรมวัดพระบรมธาตุ จังหวัดกำแพงเพชร
๓. กิจกรรมระดมความคิด เรื่อง การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วย Soft Power ในมิติทางศาสนา
 

ในโอกาสนี้จังหวัดเชียงรายโดยผู้บริหารและผู้แทนศูนย์พระพุทธ ศาสนาวันอาทิตย์และผู้แทนหน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนา จำนวน ๒๑ รูป/คน พร้อมด้วยนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นางสุภัสสร ประภาเลิศ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นางสายรุ้ง สันทะบุตร นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายอภิชาต กันธิยะเขียว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นายวรพล จันทร์คง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และนางสาวสุทธิดา ตราชื่นต้อง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ข้าราชการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ด้วย Soft Power ในมิติทางศาสนา ในวันอาทิตย์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องประชุมเวียงกาหลง ชั้น ๓ ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย (ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Facebook LIVE กรมการศาสนา)พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกให้แก่คณะสงฆ์และผู้นำ ศาสนาที่มาร่วมการประชุมฯ ดังกล่าว
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

สุดยอดเที่ยวชุมชน ยลวิถี “เมนูเมืองรวง ต้องมาลอง อร่อย ไม่ลวงตา

 
วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566 ณ ชุมชนคุณธรรมบ้านเมืองรวง ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โดยนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางสาวกฤษยา จันแดง ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ นางกัลยา แก้วประสงค์ และนางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ลงพื้นที่ขับเคลื่อนพัฒนาต่อยอดชุมชนคุณธรรมต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” บ้านเมืองรวง ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย จัดกิจกรรมคิดค้น พัฒนาเมนูอาหาร/เครื่องดื่ม สำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิด “อร่อยตา อร่อยรส อร่อยใจ” โดยเน้นการใช้วัตถุดิบ ท้องถิ่น กรรมวิธี และรสมือที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ออกแบบเมนูอาหาร พัฒนาการจัดจาน
โดยในวันนี้เป็นการลงมือปฏิบัติพัฒนาเมนูอาหาร/เครื่องดื่ม โดยภูมิปัญญาด้านอาหารของชุมชนคุณธรรมบ้านเมืองรวง พร้อมดำเนินการถ่ายภาพ เพื่อจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เมนูอาหารและเครื่องดื่มในแนวคิด “เมนูเมืองรวง ต้องมาลอง อร่อย ไม่ลวงตา” ดังนี้
1. ข้าวผัดเมืองรวง (ส่วนผสมจากน้ำพริกตาแดง และจิ๊นส้ม)
2. ชุดเครื่องดื่ม น้ำแสนดอก และขนมสองเกลอ (ขนมต้ม ข้าวต้มมัดน้อย)
3. ชุดเครื่องดื่ม กาแฟ/ชาร้อน และสติ๊กข้าวปุ๊ก
4. ชุดออเดิฟ “เมืองรวง บ่ลวงใค๋”
5. เมนู “นารีหลงไพร”
6. เมนู “หงอนพญานาคราช”
7. เมนู “โอ๊บ โอ๊บ ท่องไพร”
8. เมนู “มัฉฉายืนยง”
9. เมนู “ลาบเสียบบ้านเมืองรวง”
10. เมนู “รากขาวสาวพันปี”
11. เมนู น้ำพริกบะเขือส้ม
ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างเมนูอาหารคนเมือง กับเมนูอาหารชาติพันธ์อาข่า อย่างลงตัว ไว้สำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยวที่อยากมาชิมรสชาติอาหารวิถีเมืองรวง บ่ลวงใค๋ และบรรยากาศที่สวยงานของชุมชนต่อไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

กฤษยา จันแดง, กัลยา แก้วประสงค์, สุพรรณี เตชะตน : ภาพ/รายงาน
ChiangKhongTV : ภาพ
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการ
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

ขับเคลื่อนวัฒนธรรมบ้านศรีดอนชัย พัฒนาต่อยอด 10 สุดยอดเที่ยวชุมชนยลวิถี

 
วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม 2566ณ ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โดยนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางสาวกฤษยา จันแดง ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ พร้อมด้วยนางกัลยา แก้วประสงค์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ รับผิดชอบงานขับเคลื่อนเที่ยวชุมชน ยลวิถี และงานพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย และนางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการรับผิดชอบงานชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ (ตลาดวัฒนธรรม) ให้ลงพื้นที่ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย ดำเนินการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม ดังนี้
 
ร่วมประชุมหารือแนวทางการดำเนินการจัด “กาดลื้อศรีดอนชัย” ภายใต้โครงการชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม โดยมีพระครูสุจิณวรคุณ เจ้าคณะตำบลศรีดอนชัย/เจ้าอาวาสวัดท่าข้ามศรีดอนชัย เป็นประธานปรึกษาหารือ ที่ประชุมเห็นพ้องกำหนดจัดกาดลื้อศรีดอนชัย ครั้งที่ 1 ในวันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2566 ณ วัดท่าข้ามศรีดอนชัย
 
ปรึกษาหารือแนวทางการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไทย ของชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย ร่วมกับนางแว่นแก้ว ภิรมย์พลัด ประธานกลุ่มสตรีทอผ้าศรีดอนชัย และนางผดุง สุทธิประทีป ประธานกลุ่มสัมมาชีพ
และติดตามการถ่ายทำสื่อวีดิทัศน์ “ข้ามทุกข์ พบสุข ที่วัดท่าข้ามศรีดอนชัย” กิจกรรมการนำอัตลักษณ์ชุมชน มาสร้างเสน่ห์ด้านการท่องเที่ยวการนำทุนทางวัฒนธรรม (5F/5F+) มาพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม โดยการคิดค้นหรือพัฒนาจุดแข็งวัฒนธรรมใหม่ๆ สร้างโอกาสด้านการท่องเที่ยว ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพและความพร้อมสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” จังหวัดเชียงราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

กฤษยา จันแดง, กัลยา แก้วประสงค์, สุพรรณี เตชะตน : รายงาน/ภาพ
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการ
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

โครงการกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น วันที่ 11

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 (โครงการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น วันที่ 11)

จังหวัดเชียงราย โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่จัดทำฐานข้อมูลชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์ระดับตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (โดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น) โดยลงพื้นที่ บ้านลังกา หมู่ที่ 4 โดยมีนางกัลยา วรรณธิกูล ผู้ใหญ่บ้านลังกา หมู่ 4 และนายวรโชติ รักชาติ บ้านเลขที่ 244 หมู่ 4 บ้านลังกา ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ร่วมให้ข้อมูลการปั้นผลิตภัณฑ์ดินเผาและลงพื้นที่จัดทำฐานข้อมูลชุมชนฯ
 
เพื่อจัดทำแผนข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ และเผยแพร่ข้อมูล ตลอดจนเป็นฐานข้อมูลชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ระดับตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ภายใต้โครงการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่อไป
 
ในการนี้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โดยนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นายยุทธนา สุทธสม นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และนายอภิชาต กันธิยะเขียว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ลงพื้นที่ จัดทำข้อมูลดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

เชียงราย เลือกวัดพระธาตุผาเงา สู่ 10 สุดยอด ชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ระดับประเทศ

 

เมื่อ 22 มิถุนายน 2566 ที่ห้องประชุมพวงแสด ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการคัดเลือกสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ระดับจังหวัด ประจำปี 2566 โดยมีนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นางสาวนันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินโครงการคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ เพื่อคัดเลือกชุมชนคุณธรรมที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนพลังบวร จากทั่วประเทศที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ เพื่อประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ สร้างขวัญกำลังใจแก่ชุมชน รวมถึงเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้าง เกิดการต่อยอด ขยายผลสำเร็จไปยังชุมชนอื่นๆ ปลุกกระแสการท่องเที่ยววิถีชุมชน สร้างโอกาส สร้างรายได้ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข็มแข็งอย่างยั่งยืน
 
 
นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงรายมีต้นทุนสูงทั้งด้านโบราณสถานโบราณวัตถุ สถานที่สำคัญๆ มีวิถีชีวิตชุมชนที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะมีชุมชนคุณธรรมที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนโดยพลังบวร หลายชุมชนกระจายอยู่ในหลายอำเภอ และเห็นด้วยที่ปีนี้จะเสนอให้วัดพระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) เป็นสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ระดับจังหวัด ประจำปี 2566 เพราะชุมชนมีความโดดเด่นการใช้ชีวิตแบบวิถีชาวบ้าน รวมถึงสถานที่โบราณสถานต่างๆ มีประเพณีที่ศักดิ์สิทธิที่ชาวบ้านทำกันมาอย่างยาวนาน จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวจากหลายพื้นที่ ที่เชื่อในเรื่องสายศรัทธา (สายมู) หลั่งไหลเข้ามากราบไหว้บูชา อีกทั้งรัฐบาลยังเน้นการท่องเที่ยวแบบวิถีชาวบ้าน ซึ่งวัดพระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) ถือว่าตอบโจทย์ที่รัฐบาลคาดหวังไว้ และเชื่อว่าจังหวัดเชียงรายจะสามารถคว้า 1 ใน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
 
 
ด้านนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้แจ้งไปยังทุกอำเภอ เพื่อขอความร่วมมือคัดเลือกชุมชนคุณธรรมฯ ที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ อำเภอละ 1 แห่ง เพื่อพิจารณาคัดเลือกในระดับจังหวัด ให้เหลือเพียง จำนวน 1 แห่ง เพื่อส่งเข้ารับการคัดเลือกในระดับประเทศ และชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกในระดับจังหวัด และกล่าวต่อไปว่า วัดพระธาตุผาเงา เป็นวัดที่อยู่ร่วมกับชุมชนบ้านสบคำ และอำเภอเชียงแสนมาอย่างยาวนาน มีประวัติศาสตร์ สิ่งก่อสร้าง สถาปัตยกรรม ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว อีกทั้งยังมีสกายวอล์ค ผาเงา สามแผ่นที่สามารถมองเห็นมุมวิวสวย ของทั้งสามประเทศ ได้แก่ ไทย สปป.ลาว และเมียนมา อีกด้วย
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

สวจ.เชียงราย ลงพื้นที่ขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมเสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมสู่ความมั่นคงและยั่งยืน

 

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 66 นายพิสันต์ จันทรศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางสาวกฤษยา จันแดง ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ และนางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ลงพื้นที่ขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม ดังนี้

เวลา 19.00 น. ลงพื้นที่ประสานการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม Cpot ณ ไร่สิงห์ปาร์ค อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
 
เวลา 11.00 น. มอบหนังสือตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา ตามโครงการจาริกเส้นทางบุญในมิติศาสนา ประจำปี 2566 ณ เทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
 
เวลา 13.00 น. ร่วมประชุมอภิปรายกลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็นต่อต้นแบบโมเดลธุรกิจยั่งยืนและระบบนิเวศธุรกิจของวิสาหกิจชุมชน และวิพากษ์แนวความคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ณ โรงแรมฟอร์จูน รีเวอร์วิว เชียงของ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
 
เวลา 16.30 น. ลงพื้นที่ตรวจติดตามประเมินผลชุมชนคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น ตามโครงการพลังบวรในมิติศาสนา ประจำปี 2565 ณ ชุมชนคุณธรรมวัดท่าข้ามศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News