เมื่อวันที่ 7-8 ธันวาคม 2566 ทางทีมสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตโพสต์ผ่านเฟสบุ๊ค สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต หลังได้ร่วมกับอาจารย์สุทธิ มลิทอง ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย จากการสำรวจ พบนกทั้งหมดจาก 4 ชุมชนมี 83 ชนิด แบ่งเป็นบ้านได้ดังนี้ บ้านป่าข่า 54 ชนิด บ้านป่าบง 58 ชนิด บ้านม่วงชุม 54 ชนิด และบ้านบุญเรือง 56 ชนิด ได้ทำการสำรวจนกในฤดูหนาว 4 ชุมชนได้แก่
1)บ้านม่วงชุม ตำบลครึ่ง
2)บ้านบุญเรืองใต้ ตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ
3)บ้านป่าข่า ตำบลป่าตาล
และ4)บ้านป่าบง ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย
จาการสำรวจนับนกของทางสมาคมในครั้งนี้ ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจกับนกสีสวยสดใสตัวนี้ คือนกอีโก้ง ชื่อภาษาอังกฤษ / Purple Swamphen, Purple Gallinule, Purple Swamp-Hen และชื่อทางวิทยาศาสตร์ Porphyrio porphyrio เป็นนกน้ำขนาดลักษณะกลาง หัวเป็นสีทองอมน้ำเงิน ลำตัวด้านบนสีน้ำเงินอมม่วง ใต้คางและอกสีน้ำเงินอมเขียว ท้องและสีข้างสีน้ำเงินอมม่วง ต้นขาสีน้ำเงินอมเขียว หัว ไหล่ และขนปีกสีน้ำเงินอมเขียว ปีกสั้น นัยน์ตาสีแดง จะงอยปาก และแผ่นที่หน้าผากสีแดง ขาและนิ้วเท้ายาวมาก และมีสีแดงอมน้ำตาล ปากหนาและแบนข้าง มีสีแดง-สีน้ำตาลแดง เป็นนกที่มีขาค่อนข้างยาว เป็นนกที่เด่นสะดุดตาในการสำรวจในครั้งนี้ ที่หนองน้ำบ้านป่าข่า นกอีโก้งยืนหากินอยู่บนแพกอหญ้ากลางหนองน้ำ 1 คู่
กิจกรรมการนับนกและการออกแบบเส้นทางเรียนรู้นกในป่าชุ่มน้ำทั้ง 4 ชุมชน เพื่อเป็นการสำรวจจำนวนนกน้ำในป่าชุ่มน้ำในทั้ง 3 ฤดู คือฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ครั้งนี้เป็นการสำรวจนกน้ำตัวแทนของในช่วงฤดูฝน มีการพบนกในป่าชุ่มน้ำอย่างน้อย 42 ชนิด จาก 4 ป่า ซึ่งทั้ง 4 ป่าชุ่มน้ำกำลังอยู่ในการขอขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำแรมซ่าไซด์ ที่อยู่ในระหว่างการกรอกข้อมูลให้กับหน่วยงานกรรมการพื้นที่ชุ่มน้ำ
จากการสำรวจพบว่าป่าชุ่มน้ำเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญของนก โดยทางอาจารย์สุทธิ มลิทอง ได้กล่าวถึงป่าชุ่มน้ำว่ามีความสำคัญ2อย่างต่อนกน้ำคือ ป่าชุ่มน้ำเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย และเป็นพื้นที่สำคัญในการหาอาหาร 2 ปัจจัยนี้มีความสำคัญต่อนกน้ำเป็นอย่างมาก ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งนกก็ไม่สามารถอยู่ได้ และนกที่เป็นอัตลักษณ์เด่นๆของป่าชุ่มน้ำ ที่ในพื้นที่อื่นไม่ค่อยเจอ แต่พบเจาได้มากในป่าชุ่มน้ำลุ่มน้ำอิงตอนปลายได้แก่ นกเป็ดลาย นกเป็ดพม่า นกเป็ดหัวดำสีน้ำตาล นกเป็ดดำหัวดำ และนกยางดำ
การศึกษานกในครั้งนี้ ทางสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตได้ดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการป่าชุ่มน้ำในชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์นกน้ำในป่าชุ่มน้ำ โดยทำข้อมูลนกน้ำ ทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้นกในป่าชุ่มน้ำ และร่วมหาแนวทางการอนุรักษ์นกในป่าชุ่มน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงนำข้อมูลเรื่องนกน้ำ นำไปประกอบการผลักดันการขึ้นทะเบียนพื้นที่ป่าชุ่มน้ำแรมซ่าไซด์ร่วมกับชุมชนต่อไป
สำหรับสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ซึ่งงานของสมาคมทำน้้นจะสามารถแบ่งออกได้เป็นอย่างน้อย 4 ด้านหลักๆ ดังนี้ 1.วิจัยไทบ้าน 2.การจัดการน้ำและสัตว์น้ำโดยท้องถิ่น 3.การเสริมสร้างเครือข่ายและกลไกท้องถิ่น 4.เขื่อนขนาดใหญ่ โครงการในปัจจุบัน โครงการเสริมสร้างเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำโขง โครงการอนุรักษ์แลฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาในแม่น้ำโขงและอิงตอนล่างในจังหวัดเชียงรายโดยเครื่องมือและกลไกท้องถิ่น สามารถติดต่ามได้ที่ : https://www.livingriversiam.org/