เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 มหาวิทยาลัยพะเยาจัดให้มีการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 13 ขึ้น ในวันที่ 24 – 26 มกราคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “Frontier area-based research for sustainable development goals” ซึ่งเป็นเวทีทางวิชาการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายระดับชาติ พัฒนาศักยภาพของนักวิจัย และสถาบันการศึกษาของไทย ที่เป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการการนําเสนอผลงานวิจัย นิทรรศการ และกิจกรรมสัมมนาทางวิชาการต่าง ๆ ที่หลากหลาย โดยหนึ่งในประเด็นสำคัญของการประชุมในครั้งนี้ คือ Section: “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” ได้มีเวทีการเสวนา “อนาคตธุรกิจคาร์บอนเครดิตและอุตสาหกรรมบริการไทย” รวมทั้งการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ทิศทางและแนวโน้มการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” และ “การส่งเสริมสุขภาพและการเที่ยวไทย” นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการ “การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในอุทยานแห่งชาติและการส่งเสริมใช้แอพพลิเคชั่น ZERO CARBON” ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงานโดยแผนงานการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นประธานกล่าวเปิดงานการประชุมวิชาการพะเยาวิจัย โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. และประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. ร่วมเปิดงานซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 13 ในวันที่ 25 มกราคม 2567 ณ อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ มหาวิทยาลัยพะเยา

 

สำหรับการเสวนา “อนาคตธุรกิจคาร์บอนเครดิตและอุตสาหกรรมบริการไทย” ประกอบด้วยผู้ร่วมเสวนา 5 ท่าน คือ ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน ผู้อำนวยการแผนงานท่องเที่ยวบนฐานมรดกทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิ บพข. นายคมกริช เศรษฐบุบผา ผู้อำนวยการส่วนวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ในฐานะผู้แทนอธิบดีกรมอุทยานกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช นางสาวภคมน สุภาพพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำองค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) และ Mr.James Andrew Moore ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร WAVE BCG Co., Ltd.

 

 

 

 

ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช กล่าวถึงความเป็นมาของ บพข. ซึ่งเป็นผู้ที่ริเริ่มในการส่งเสริมแนวคิดการวิจัยด้านการท่องเที่ยวสุทธิเป็นศูนย์ ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2563 โดย แผนงานการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. ได้จำลองแบบ net zero pathways ในช่วงปี 2569-2570 เนื่องจากว่ากว่าด้านวิทยาศาสตร์และวิจัยนวัตกรรมของเราได้รับ งบประมาณจากรัฐบาลมาต่อเนื่องให้เราทำงานวิจัย โดยเราจะออกแบบแผนงานที่เป็น Marketing CNT ในปี 2567  ทำร่วมกับกับ TEATA และตัวชี้วัดที่สำคัญ คือ ดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพสูง เข้ามาในเมืองไทยเพื่อที่จะเตรียมความพร้อมการรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพสูง จะให้พำนัก 10 ขึ้นไป โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยวันละ 5000 บาท  มีหน่วยงานต่างๆเข้ามาร่วมเป็นภาคีเครือข่าย เราทำการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และเราทำเรื่องของงานเชิงนโยบาย นักท่องเที่ยวคุณภาพสูง ต้องจัดการการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพด้วย  และในปลายปี 2568 -270 เราจะมี Net Zero pathways ออกมาให้พี่น้องชาวไทย เราสามารถที่จะบริการจัดภาคการท่องเที่ยว และนำไปสู่ Net Zero pathways เป็นลักษณะของการให้การทดลองการท่องเที่ยวต่างๆในโปรแกรม

 

 ด้าน รศ. ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน กล่าวว่า การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ถ้ามองย้อนกลับไปตั้งแต่ต้น คือมาจากปัญหาโลกร้อนและเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนร่วมถึงภาคการท่องเที่ยว แล้วภาคการท่องเที่ยวได้มองถึงการแก้ไขปัญหาหรือเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา โดยมีประเด็นดังนี้ 1.ตัวกลางวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมต่างๆ 2.หลังจากที่ทราบตัวเลขแล้ว ควรจะมีมาตรการหรือแนวทางลดให้มากที่สุด 3.ชดเชย 4.ทุกภาคส่วนทุกฝ่ายต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกัน

 

 

สำหรับคุณคมกริช เศรษฐบุบผา เผยถึง ในฐานะตัวแทนของทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่มีนโยบายเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือการท่องเที่ยวสุทธิเป็นศูนย์ คือหน่วยงานมีวิสัยทัศน์เพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ ภายในปี 2569 และมีภารกิจงานด้านอนุรักษ์วิจัย งานด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้ งานมีส่วนร่วม และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว และมียุทธศาสตร์ ประเด็นที่ 18 การเติบโตอย่างยั่งยืน

 

 

ด้าน คุณภคมน สุภาพพันธ์ กล่าวว่า ปัจจุบันองค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกมีแอพพลิเคชั่น Zero Carbon ที่เกิดจาก ความร่วมมือกับ บพข. ซึ่งต้องบอกว่า ประโยชน์ของแอพพลิเคชันของทาง อบก. เขาเห็นถึงการท่องเที่ยวที่มีการจัดการก๊าซเรือนกระจก 1.การเดินทางของผู้ร่วมงาน 2.ที่พัก 3.อาหาร  4.ของเสีย ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถบอกเลขได้ เมื่อนำไปทดลอง พบว่า ชุมชนสามารถใช้ได้ และนอกจากนี้เด็กมัธยมต้นก็สามารถใช้แอพนี้ได้และใช้โดยไม่ใช้เงินอะไรเลย ในอนาคตเรามีการพัฒนาแอพที่ดี เราจะตัดระบบผู้ทวนสอบ  เพื่อให้งานนั้นหรือว่าการท่องเที่ยวนั้น โดยสามารถที่จะซื้อคาร์บอนในระบบได้เช่นเดียวกัน

 

ในด้านของภาคเอกชน คุณเจมส์ แอนดริว มอร์ กล่าวว่า บริษัท เวฟบีซีจี จำกัด ของเราเป็นบริษัทมหาชน เรามีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนมาก เราเป็นผู้สนับสนุน ในการที่จะบรรลุเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน ในการเป็น Net Zero และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกได้ ที่ปรึกษาในการประเมิน และเมื่อประเทศมีการตั้งเป้าหมายแล้วจึงส่งผลต่อภาคเอกชน ทำให้ภาคเอกชนมีการตั้งเป้า เพราะเรื่องนี้เป็นการแข่งขันในภาคเอกชน เช่น ณ วันนี้ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย ส่งออกสินค้าไปเข้ายุโรป เราจะต้องจ่ายภาษีคาร์บอนแพงกว่าคู่แข่งที่ยุโรป ดังนั้นความสามมารถในการแข่งขันส่งออกเราจะลดลงเรื่อย ๆ และ CBAM ที่เป็นภาษีคาร์บอนของยุโรป จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยประมาณ 14,700 ล้านบาท ถ้าเราไม่มีการปรับตัว

สำหรับโซนนิทรรศการ “การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในอุทยานแห่งชาติและการส่งเสริมใช้แอพพลิเคชั่น ZERO CARBON” และการนำเสนอผลงานวิชาการรูปแบบ Oral Presentation แบบ Onsite ใน Section“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ครั้งที่ 1” มีผู้นำเสนอผลงานวิชาการเป็นเจ้าหน้าที่กรมอุทยานกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จากอุทยานฯ 12 แห่ง และนักวิชาการ รวมจำนวน 15 ผลงาน ตลอดจนการประกวดผลงานสร้างสรรค์แบบออนไลน์ ประเภทภาพถ่ายและคลิปวีดีโอนักสื่อความหมายด้านการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดยมีผู้ร่วมส่งผลงานจำนวน 48 ราย โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้นำแอพพลิเคชั่น ZERO CARBON มาใช้คำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการการจัดการประชุมและกิจกรรม  ซึ่งมีปริมาณ 14.90 ตันคาร์บอนฯ และได้ชดเชยคาร์บอน เป็นจำนวน 2,700 บาท สำหรับผู้ร่วมงานในครั้งนี้แล้วจำนวน 200 คน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานวิจัยการยกระดับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและความร่วมมือการพัฒนาคุณภาพอุทยานแห่งชาติในพื้นที่ภาคเหนือมุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดยมี ผศ.ดร.สุขทัย พงศ์พัฒนศิริ สังกัดมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งได้รับการอุดหนุนทุนวิจัยจาก  แผนงานกลุ่มการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์  (บพข.) กองทุน ววน. ซึ่งมีพื้นที่วิจัยหลัก คือ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน และอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า และเครือข่ายอุทยานแห่งชาติสีเขียวอีก 9 แห่งของภาคเหนือ ในปี พ.ศ. 2566 โดยงานวิจัยนี้คาดว่า การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Tourism: CNT) นั้น จะเป็น Mega trend ที่จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้แก่ประเทศไทยและพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวมูลค่าสูง และจากการติดตามร่องรอยทางนิเวศของนักท่องเที่ยว (Tracking Survey) พบว่า ค่าใช้สอยในการท่องเที่ยวเป็นจำนวนเงินเฉลี่ย 2,921 บาท/วัน ซึ่งจะกระจายรายได้แก่ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจที่พักรองรับนักท่องเที่ยวโดยรอบอุทยานฯ จำนวน  144 แห่ง และจากการสร้างความร่วมมือเครือข่ายผู้ประกอบการ 63 แห่ง ที่จะสนับสนุนการท่องเที่ยวแบบ CNT นำร่องแคมเปญการเตรียมตัวแบบการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนสุทธิ์เป็นศูนย์มีเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนจากเดินทางท่องเที่ยว ลดการใช้ไฟฟ้าในที่พัก คัดแยกขยะ ลดการใช้การเกิด และทำการชดเชย โดยคำนวณจากแอพพลิเคชั่น ZERO CARBON คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวที่จะร่วมกิจกรรมนี้ 1,560 คน/ปี เป็นรายได้เพิ่มขึ้น 1,760,000 บาท/ปี จากผู้ประกอบการที่พัก 9 แห่ง

 

ทั้งนี้อุทยานฯ และผู้ประกอบการร่วมโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS)  โดยการคัดแยกขยะเพื่อการรีไซเคิล การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้เองและการผลิตปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์  32 แห่ง คิดเป็นการลดก๊าซเรือนกระจก 4.9 tCO2eq โดยในอนาคตอุทยานฯ ต้องยกระดับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกภายในปี พ.ศ. 2573 ตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด หรือ Nationally Determined Contributions (NDCs) ของประเทศ โดยในงานวิจัยได้คาดการณ์จากแนวโน้มในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ 3 อุทยานฯ ร้อยละ 4 ต่อปี จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าของการให้บริการของอุทยานฯจำนวน 4,898 kWh  เชื้อเพลิง 5,102 ลิตร 5.1 ตัน การใช้น้ำ 1,087 ลบ.ม. คิดเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง 60 tCO2eq/ปี ซึ่งคิดเป็นเงินต้นทุนที่ลด 229,125 บาท/ปี ในส่วนของการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น สำนักงานอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีการใช้ผลิตภัณฑ์ในบัญชีตะกร้าเขียว ฉลากเขียว ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้น  ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5  ฉลากประสิทธิภาพสูงและวัสดุธรรมชาติสูงถึง  45.28 เปอร์เซ็นต์  

 

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการเตรียมความพร้อมในการรองรับกิจกรรมทางการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์เพื่อสร้างประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience) เมื่อนักท่องเที่ยวมาใช้บริการจะทำให้เป็นท่องเที่ยวที่เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติต่ำ อีกทั้งในอนาคตจะมีการสื่อสารและเรียนรู้ผ่านคู่มือการท่องเที่ยว Green Travel Plans (GTPs) สำหรับท่านที่จองบ้านพักภายในอุทยานฯและและที่พักชุมชนในเครือข่ายเพื่อการเตรียมตัวมา “ท่องเที่ยวกลุ่มอุทยานแห่งชาติสีเขียวสไตล์คาร์บอนเป็นศูนย์” และ การเป็นองค์ชั้นนำในการบริการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของกรมอุทยานฯ ก้าวสู่ Net Zero Pathway และ Climate-Smart National Park

 

นอกจากนี้ยังมีการบรรยายพิเศษใน 2 เรื่องสำคัญคือ “ทิศทางและแนวโน้มการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” โดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และ“การส่งเสริมสุขภาพและการเที่ยวไทย” โดย นายณัฐพงศ์ โพธิ์วัฒนะชัย ตัวแทนสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

ทั้งนี้สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม “สานพลังการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไทย พลิกโฉมให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการ แข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่า และพร้อมก้าวสู่อนาคต” พร้อมส่งเสริม ความร่วมมือเพื่อผลิตกําลังคนระดับสูงเฉพาะทาง และความร่วมมือในด้านการวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรมกับหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบุคคลหรือหน่วยงานในต่างประเทศต่อไป

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME