วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566)นางยุถิกา อิศรางกูล ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (อพท.) ร่วมกันแถลงข่าวและแสดงความยินดีกับจังหวัดเชียงรายที่ได้รับการคัดเลือกเป็นเครือข่ายสร้างสรรค์ UNESCO ที่ห้องประชุมธรรมปัญญา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหาร อบจ.เชียงราย ภาคเอกชน สื่อมวลชน ร่วมรับฟังการแถลงข่าวจำนวนมาก เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้การประกาศรับรองจังหวัดเชียงรายเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ด้านการออกแบบ

 

นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงราย นับเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ มีอัตลักษณ์โดดเด่นในด้านสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การเป็นเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบ จึงมีการผลักดันให้เชียงราย เป็นเมืองแห่งการออกแบบ (City of Design) เนื่องจากเชียงรายมีทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมความหลากหลายทางชีวภาพ และอัตลักษณ์ท้องถิ่น ที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มีศิลปินล้านนาจำนวนมาก มีการสร้างสรรค์ทางศิลปะที่สืบทอดกันมาทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมที่บ่งบอกถึงภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเมืองเชียงราย สามารถใช้การออกแบบการบริการ Sevice Design มาเป็นจุดแข็ง เช่น กลุ่มสร้างสรรค์ต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มศิลปิน กลุ่มนักสร้างสรรค์ กลุ่มสมาร์ทฟาร์มเมอร์ เมืองเชียงรายเมืองแห่งวัฒนธรรมล้านนาที่มีเอกลักษณ์ และอัตลักษ์ณ์ที่โดดเด่น สามารถผลักดันเปลี่ยนแปลงเมืองเชียงรายด้วยการสร้างสรรค์ การออกแบบ การบริการ และความมีอัธยาศัยดีความสามัคคีกัน 
 
 
 
 

ส่งผลให้เกิดแนวคิดความสร้างสรรค์ พัฒนา ต่อยอดสู่เมืองสร้างสรรค์ได้ในอนาคต อันเป็นการสนับสนุน และยกระดับความสามารถด้านการท่องเที่ยวแก่จังหวัดเชียงราย เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างแท้จริงและยั่งยืน การเสริมสร้างการรับรู้ศักยภาพของเมืองแก่ประชาชน และผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียในพื้นที่ จึงก่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาและบูรณาการร่วมกันเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์เมืองในด้านนั้น ๆ

รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวอีกว่า สิ่งเหล่านี้ต่างสนับสนุนการพัฒนาเมืองให้จังหวัดเชียงรายขับเคลื่อนไปสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์กรการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และเพื่อขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ..2561-2580) เมืองสร้างสรรค์ ด้านการออกแบบ การที่เป็นการออกแบบการบริการของเชียงราย มีเป้าหมายเพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ของเมืองในการรักษาสิ่งแวดล้อม และลดความยากจน เพื่อก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ความเท่าเทียมกัน และการพัฒนาเมือง สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) การขับเคลื่อน “เมืองเชียงราย” สู่การเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบ จำเป็นจะต้องดำเนินกิจกรรมตามแผนที่นำทาง (Roadmap) ของเมืองเชียงราย 

สู่การเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบ ให้เกิดเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับการสนับสนุนการพัฒนาเมืองในพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ อพท. ตามพระราชกฤษฎีกา และเมืองในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวโดยเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ประชาสังคม รวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ การพิจารณาถึงผลตอบรับและแรงจูงใจต้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน ใช้กลไกการทำงานโดยการดึงชุมชนที่มีศักยภาพสร้างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงการท่องเที่ยว สร้างความเข้าใจให้ทุกฝ่ายให้เห็นถึงความสำคัญของประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานของเมืองในครั้งนี้ ตลอดจน การถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งด้านพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ และเส้นทางการท่องเที่ยว การบริการให้มีมาตรฐาน 

 

การพัฒนานักสื่อความหมาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่นำเอาอัตลักษณ์ประจำถิ่นมาพัฒนาเป็นสินค้าที่มีความโดดเด่น สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่สามารถเชื่อมโยงกับชุมชนใกล้เคียงเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ในท้องถิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการเสนอชื่อจังหวัดเชียงรายสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO.ด้วยแนวคิด “เชียงรายวิถี กินอยู่ รู้แบ่งปันสู่ความยั่งยืน” แม้การเสนอชื่อในครั้งแรกยังไม่สามารถนำพาจังหวัดเชียงรายสู่การเป็นเมืองเครือข่ายได้แต่ด้วยความมุ่งมั่นและความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์การบริการส่วนจังหวัดเชียงราย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม รวมถึง สถาบันการศึกษา และศาสนา ในพื้นที่ร่วมกันขับเคลื่อนเมืองด้วยแนวคิดของเมืองสร้างสรรค์ สร้าง Creative.Space / Creative.Event ระดับนานาชาติ สร้างสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม สู่การออกแบบเพื่อสร้างสมดุล ระหว่างธรรมชาติและวัฒนธรรมปรับประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาเมือง 

 

เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก เยาวชนและประชาชนชาวเชียงรายอย่างยั่งยืน จนเป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล และเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 องค์การยูเนสโกได้ประกาศรับรอง 55 เมืองทั่วโลก เข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ซึ่งรวมถึงจังหวัดเชียงรายด้วย บัดนี้ จังหวัดเชียงราย พร้อมแล้วที่จะเป็นหมุดหมายใหม่ของนักสร้างสรรค์ระดับนานาชาติ กับการได้รับการรับรองจากยูเนสโก ยกจังหวัดเชียงราย เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบ Chiang Rai Creative City of Design
 
 
ตราสัญลักษณ์เชียงรายเมืองสร้างสรรค์ เมืองแห่งความสมดุระหว่างธรรมชาติและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UCCN) พบกันที่ไหนทักทายกัน
 
มีชื่อว่า “วัฒนธรรมชาติ” หรือ
อ่านว่า “วัด-ทะ-นะ-ทำ-มะ-ชาด”
ออกแบบโดย นายวีระพงษ์ อมรสิน
 
ที่สื่อแสดงถึงความสมดุลแห่งความมั่งคั่งทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม เป็นต้นทุนสร้างสรรค์ ที่จะขับเคลื่อนเชียงราย
สู่เมืองแห่งการออกแบบที่ยั่งยืน ทั้งนี้ การออกแบบได้ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ธรรมชาติ วัฒนธรรม และธรรม ดังนี้
ส่วนที่ 1 ธรรมชาติ เชียงรายเป็นเมืองที่ “รายรอบด้วยขุนเขาและสายน้ำ” ประกอบไปด้วย
 
ต้นทุนแห่งธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
ต้นน้ำแห่งกายภาพหัวเมืองเหนือของประเทศ
ต้นกำเนิดแห่งวิถีชีวิตและภูมิปัญญาแห่งชาติพันธุ์
 
สู่การสร้างคุณค่าและมูลค่าจากผลิตผลแห่งการสร้างสรรค์ รวมถึงแรงบันดาลใจแห่งศิลปวัฒนธรรม
ส่วนที่ 2 วัฒนธรรม เชียงรายเป็นเมืองที่ “รายล้อมด้วยผู้คนและศิลปะ” ประกอบไปด้วย
 
– ลวดลายแห่งเชียงราย อัตลักษณ์ใหม่จากศิลปะล้านนาร่วมสมัย ฝีมือจากการรังสรรค์ของศิลปินแห่งชาติ ผู้เป็นตัวแทนแห่งจิตวิญญาณและสุนทรียะทางศิลปะ อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ที่เป็นต้นแบบของแรงบันดาลใจให้กับนักสร้างสรรค์ จนถูกขนานเชียงรายว่าเป็น “เมืองแห่งศิลปิน” ที่มากที่สุดในประเทศ เมืองแห่งศิลปะและศิลปินที่มากมาย
 
– ลายล้านนาเชียงแสน ตัวแทนแห่งประวัติศาสตร์และความหลากหลายทางชาติพันธ์ุที่มาพร้อมกับศิลปวัฒนธรรมเฉพาะตัว
– ตุงที่เชื่อมโยงถึงโครงการดอยตุง ตัวแทนของแนวคิดในการปรับตัวและการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีและยั่งยืน
 
หอคำไร่แม่ฟ้าหลวง สถาปัตยกรรมล้านนาประยุกต์ ตัวแทนของความงดงามที่เรียบง่ายความกลมกลืนระหว่างศิลปวัฒนธรรมกับธรรมชาติ และการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าจากบ้านไม้เก่าของการก่อสร้าง ไร่แม่ฟ้าหลวง ยังเป็นหนึ่งในคลื่นศิลปะที่ผลักดันเชียงรายสู่เมืองออกแบบ เพราะเป็นบ้านของศิลปินนักสร้างสรรค์ ที่พร้อมบริการการออกแบบเพื่อสังคม
 
– อาคารลดทอน หรือ วัตถุ Simplified ตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงบนต้นทุนเดิม สะท้อนความเป็น “นีโอล้านนา” และความร่วมสมัยบนพื้นที่แห่งโอกาสและความท้าท้ายของคนรุ่นใหม่ ที่จะมาร่วมขับเคลื่อนพลังและความสามารถให้เป็นเมืองแห่งการออกแบบที่ยั่งยืน
 
ส่วนที่ 3 ธรรม เชียงรายเป็นเมืองที่ “รายเรียงพื้นที่แห่งศาสนาและประวัติศาสตร์” ด้วยความศรัทธาแห่งวิถีพุทธสู่การเป็นศาสนาประจำจังหวัดก่อเกิดงาน “พุทธศิลป์” หลายแขนงที่สานต่อจากอดีตของเมือง
ที่มั่งคั่งด้วย “อารยธรรม”
 
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME