วันเสาร์ที่ 23 กันยายน 2566 เวลา 18.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย “เชียงราย เลอค่า” โดยได้รับเกียรติจาก นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวรายงาน ผศ.ดร.สุทัศน์ คล้ายสุวรรณ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กล่าวต้อนรับ
ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงราย นางภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ผศ.ยิ่งศักดิ์ เพชรนิล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงราย นางสาวนันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย นางสาวภาณี จันทร์ตัน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย นายสุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะเชียงราย หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน สภาวัฒนธรรม 18 อำเภอ ผู้ประกอบการอาหารและผ้า และประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงรายกว่า 500 คน ร่วมงานดังกลาว
โดยมีการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย
1. บูธจัดแสดงและสาธิตมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และ 1 อำเภอ 1 เมนูเชิดชูอาหารถิ่น โดยเครือข่ายสภาวัฒนธรรมอำเภอ 18 อำเภอ บูธเครือข่ายวัฒนธรรมระดับจังหวัด บูธนิทรรศการเชิดชูผลงานคนดีศรีเชียงราย ประจำปี พ.ศ. 2566
2. เวทีเสวนา หัวข้อ “อาหารอัตลักษณ์เชียงราย เลอค่าสู่การสร้างสรรค์เศรษฐกิจ” โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นายวรพงศ์ ผูกภู่ ผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม รศ.มาลี หมวกกุล ประธานสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นางสาวยุวินิตย์ ทิศสกุล ผู้จัดการร้านสบันงาขันโตก เชียงราย และดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.รณิดา ปิงเมือง ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
3. พิธีเปิดงาน “เชียงราย เลอค่า”
4. พิธีมอบโล่ยกย่องเชิดชูเกียรติ “คนดีศรีเชียงราย” ประจำปี 2566 โดยได้รับเกียรติจาก นางภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นผู้มอบโล่ให้แก่คนดีศรีเชียงราย จำนวน 6 ท่าน 6 สาขามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ดังนี้
(1) สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา ได้แก่ นายถาวร อุ่นเจริญ
(2) สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นางบัวลอย โชติสิริพัชญ์
(3) สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล ได้แก่ นายภัทรพงศ์ วงศ์เชียงปล้อง
(4) สาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล ได้แก่ นายธวัช เลียลา
(5) สาขาการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ได้แก่ นายณัฐวุฒิ ดอนลาว
(6) สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ได้แก่ นายรัตน์ เผ่าปินตา
5. การเดินแบบ “อัตลักษณ์อาภรณ์นครเชียงราย” โดยเครือข่ายทางวัฒนธรรม
6. การยกระดับอาหารอัตลักษณ์นครเชียงราย “Local สู่เลอค่า” ในรูปแบบ Fine dining และ
7. การแสดงทางวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ ตลอดการจัดกิจกรรม
จังหวัดเชียงราย มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มีวัฒนธรรมและมีองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการสั่งสมมาและสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน และยังคงปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจนในปัจจุบัน โดยเฉพาะภูมิปัญญาด้านอาหารและอาภรณ์ที่มีอัตลักษณ์และโดดเด่นเป็นเสน่ห์ทางวัฒนธรรมที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัด นำไปสู่เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน และสังคมได้ต่อไป
สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และเครือข่ายวัฒนธรรมในพื้นที่ระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด จัดงาน “เชียงราย เลอค่า” ขึ้น ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นพื้นที่ในการนำเสนออัตลักษณ์อาหารถิ่นของชาวเชียงราย ๑๘ อำเภอ และอาภรณ์อันงดงามวิจิตรด้วยกลิ่นอายความหลากหลายชาติพันธุ์ของชาวเชียงราย จาก Local สู่เลอค่า ให้ได้ปรากฏสู่สายตาของชาวเชียงราย และชาวไทยผ่านการจัดกิจกรรมในงานฯ ซึ่งมีการถ่ายทอดสดออนไลน์ผ่านช่องทาง Face Book อีกช่องทางหนึ่ง
https://fb.watch/nehW20xwQU/?mibextid=5MEvZV
วัตถุประสงค์ในการจัดการงาน เพื่อส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดเชียงราย ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา ต่อยอด และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคม โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคสถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม ในการขับเคลื่อนงานด้านวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงราย
ให้เป็นไปตามนโยบายของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ในด้านการสนับสนุนและพัฒนาการดำเนินงานของเครือข่ายทางวัฒนธรรมในประเทศและต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินจัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา ต่อยอด และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคม ผ่านวัฒนธรรมเชิงสัญลักษณ์ 5F (Food/ Fashion/ Fighting/ Film/Festival) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสร้างสรรค์สินค้าและบริการ (Creative Culture) เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการทางวัฒนธรรม และทำให้เกิดความยั่งยืน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชุมชนและท้องถิ่นต่อไป
ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางสาวกฤษยา จันแดง ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ นักวิชาการวัฒธรรมผู้ประสานงานอำเภอ บุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมกับคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัด คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ร่วมปฏิบัติงาน500