วันที่ 23 สิงหาคม 2566 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างเอกสารและร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนและประเทศคู่เจรจาในกรอบความร่วมมือต่าง ๆ
แถลงการณ์ร่วมอาเชียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (ASEAN Joint Statement on Climate Change to UNFCCC COP 28) แสดงถึงความมุ่งมั่นของ อาเซียนในการดำเนินการตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพพูมิอากาศและความตกลงปารีสภายใต้หลักความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างโดยคำนึงถึงขีดความสามารถของแต่ละประเทศและสถานการณ์ของประเทศที่แตกต่างกัน โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่วดล้อม หรือผู้แทนเห็นชอบ (Endorsement ) ในการประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียนครั้งที่ 17 ในวันที่ 22-24 สิงหาคม 2566 ณ สปป.ลาว และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนร่วมรับรอง (Adoption) ในการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit ) ครั้งที่ 43 ในวันที่ 5-7 กันยายน 2566 ณ อินโดนีเซีย
2. ร่างเอกสารแนวคิดสำหรับข้อริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ของอาเซียนและญี่ปุ่น “แผนงานยุทธศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมอาเซียน” (ASEAN -Japan New Environment Initiative “Strategic Program for ASEAN Climate and Environment (SPACE) ) และร่างแผนงานอาเซียน-สหรัฐ ฯ ด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ASEAN -U.S. Environment and Climate Work Plan ) โดยร่างเอกสารแนวคิดสำหรับข้อริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ของอาเซียน-ญี่ปุ่น มุ่งมั่นแก้ไขวิกฤติหลักของโลก 3 ประการ ได้แก่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมเปิดตัวข้อริเริ่มในแผนงานยุทธศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมอาเซียน เพิ่มเติมจากข้อริเริ่มความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมอาเซียน-ญี่ปุ่น และแผนปฎิบัติการอนเซียน -ญี่ปุ่น ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศวันละ 2.0 ในส่วนแผนงานอาเซียน- สหรัฐฯ ด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศสมาชิกอาเซียนในการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพพูมิอากาศ
ทั้งนี้ ร่างเอกสารทั้ง 2 ฉบับ จะมีการรับรองระหว่างวันที่ 23 – 24 สิงหาคม 2566 ในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมครั้งที่ 17 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ณ สปป. ลาว
3. ร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (ASEAN Action Plan for Invasive Alien Species MAnagement) ซึ่งจะเป็นกรอบแนวทางการประสานความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ในการจัดการและลดผลกระทบจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในภูมิภาคอาเซียน
โดยจะมีการรับรองในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 ในวันที่ 23 สิงหาคม 2566 ณ สปป.ลาว ก่อนเสนอต่อการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 43 ระหว่างวันที่ 4-7 กันยายน 2566 ณ อินโดนีเซีย เพื่อทราบต่อไป
4. ร่างแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานรากในอาเซียน (ปี 2566 -2570) Plan of Action for the Promotion of Inclusive Business in ASEAN (2023-2027) เป็นการกำหนด แนวทางและการจัดลำดับความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ในระดับประเทศและในระดับภูมิภาค มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้ประชาชนเป็นจุดศูนย์กลางของประชาคมในการช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย
ทั้งนี้ จะมีการรับรองแบบไม่ลงนามในการประชุม รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน [ASEAN Economic Ministers Meeting (AEM)] ระหว่างวันที่ 17 – 22 สิงหาคม 2566 ณ เมืองเซอมารัง อินโดนีเซีย และการประชุมธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 6 และการประชุมรัฐมนตรีระดับสูง ระหว่างวันที่ 23- 25 สิงหาคม 2566 ณ เมืองบาหลี อินโดนีเซีย
5. ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 10 [Joint Statement of the 10th ASEAN Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting (AFMGM)] และ (ร่างแถลงการณ์ร่วมการ AFMGM ครั้งที่ 10) และร่างแถลงการณ์ร่วม การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 1 [Joint Statement of the 1st ASEAN Finance and Health Ministers’ Meeting (AFHMM)] โดยร่างแถลงการณ์ร่วม AFMGM คร้ังที่ 10 เป็นการส่งเสริมความร่วมมือ และให้ความช่วยเหลือระหว่างกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันและรักษาความเป็นแกนกลางให้กับอาเซียน รวมท้ังมุ่งส่งเสริมเสถียรภาพทางการเงินในภูมิภาคอย่างยั่งยืน สำหรับร่างแถลงการณ์ร่วม AFHMM คร้ังที่ 1 เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ด้านการคลังและสาธารณสุข เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านสาธารณสุข ในภูมิภาคและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาดหลังโรคโควิด – 19 ทั้งโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำและโรคติดเชื้ออุบัติใหม่
ทั้งนี้ จะมีการรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ทั้ง 2 ฉบับ แบบไม่ลงนามในการประชุม AFMGM ครั้งที่ 10 และการประชุม AFHMM ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 24 – 25 สิงหาคม 2566 ณ เมืองจาการ์ตา อินโดนีเซีย
6. เห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรี ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 30 และอนุมัติให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงด้านมนุษย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ในการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 30 [30th ASEAN Socio – Cultural Community (ASCC) Council Meeting] ในวันที่ 29 ส.ค. 2566 ณ กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย
นางสาวรัชดา ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยในฐานะสมาชิกอาเซียน มุ่งมั่นส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาและกรอบความร่วมมืออื่นๆ ในประเด็นสำคัญของโลกต่างๆ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งการเปิดตัวเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านการคลังและสาธารณสุข เป็นครั้งแรก เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ด้วย
เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี
Copyright © 2023 by G Good Media Co., LTD. & Nakhon Chiang Rai News. All Rights Reserved.