เมื่อวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โดยนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นายยุทธนา สุทธสม นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ เข้าร่วมกิจกรรม (ทอสายบุญจุลกฐินถิ่นไทลื้อโบราณ) จังหวัดเชียงราย โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ร่วมกับ ชุมชนหาดบ้าย-หาดทรายทอง 

 

จัดกิจกรรมจุลกฐิน ถิ่นไทลื้อโบราณโดยมีนางอธิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดกิจกรรม พร้อมด้วยนายวิรุฬห์  สิทธิวงศ์  นายอำเภอเชียงของ นายเกษม ปันทะยม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลริมโขง นายกิตติพงศ์  วงศ์ชัย นายกเทศมนตรีตำบลศรีดอนชัย นายธันวา  เหลี่ยมพันธุ์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเชียงของ หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ เครือข่ายชาติพันธุ์ในพื้นที่ ประชาชน  ณ วัดหาดบ้าย ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

 

เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์ สืบสาน ประเพณีของชุมชนและเผยแพร่วัฒนธรรม ประเพณี อัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทลื้อ ให้เกิดการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมประเพณี เนื่องด้วยจังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทย เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญ เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งอารยธรรมล้านนา ตลอดจนมีความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมของพี่น้องชาติพันธุ์ ที่เชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เป็นจุดแรกที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศไทย เป็นพรมแดนกันกลางระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นเหตุผลให้ “เชียงราย”

 

 

มีความพร้อมด้านการท่องเที่ยว เสน่ห์เชียงราย นั่นคือ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม Soft Power เชียงราย อบจ.เชียงรายจึงเล็งเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเสน่ห์ ที่ทำให้จังหวัดเชียงรายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จึงได้กำหนดนโยบาย “เชียงรายเที่ยวได้ ทั้งปีมีดีทุกเดือน” และ “เสน่ห์เชียงราย สถานที่ ชาติพันธ์ วัฒนธรรมประเพณี” ขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเป็นการระเบิดจากภายในภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชนเองที่จะเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา รักษาคุณค่าทางวัฒนธรรม โดยชุมชนของตนเองไว้

 

และเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อบจ.เชียงราย ได้ดำเนินงานบูรณาการร่วมกับ อบต.ริมโขง พี่น้องชุมชนบ้านหาดบ้าย หาดทรายทอง ตามนโยบาย “3 พี่น้องท้องถิ่นรวมใจ ชุมชน และการมีส่วนร่วม” ที่สนับสนุนการบูรณาการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยชุมชนให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ต่อไป

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME